รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
16 กันยายน 2565
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ผู้เขียน ชาติสยาม หม่อมแก้ว
สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาฯ นำนิสิตในหลักสูตร MBA ลงพื้นที่ชุมชนบางลำภูล่าง เรียนรู้นวัตกรรมทางสังคมในการสร้างชุมชนสร้างสรรค์ สร้างรายได้ให้กับชุมชนโดยใช้ต้นทุนทางศิลปะและวัฒนธรรมในพื้นที่
ผศ.ดร.ยุพิน ภัทรพงศ์สันต์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการตลาด สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ฯ กล่าวว่า การลงพื้นที่ในครั้งนี้เป็นการนำบทเรียนที่เกี่ยวข้องกับวิชาการจัดการเรื่องราคามาประยุกต์เข้ากับเนื้องานโครงการ U2T มหาวิทยาลัยสู่ตำบล ปีที่ 2 ซึ่งเป็นการนำทั้งการเรียนการสอนแบบ Action Learning และ SDGs มาใช้ในการเรียนการสอนด้วย โดยทีมงานมหาวิทยาลัยสู่ตำบลและนิสิต MBA ศศินทร์ ได้ร่วมทำกิจกรรมเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ธุรกิจเพื่อสังคม เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับการสร้าง Social Innovation หรือนวัตกรรมทางสังคมให้เกิดขึ้นในพื้นที่ต้นแบบ โดยได้ลงพื้นที่ชุมชนวัดเศวตฉัตรและชุมชนหลวงพ่อโบสถ์บน แขวงบางลำภูล่าง เขตคลองสาน ฝั่งธนบุรี ซึ่งเป็นชุมชนดั้งเดิมตั้งแต่สมัยอยุธยา ผู้ที่อยู่อาศัยในชุมชนดังกล่าวนี้ยังคงสืบทอดศิลปวัฒนธรรมการแสดง “กระตั้วแทงเสือ” ที่สืบทอดกันมาแต่สมัยอยุธยาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้วิถีชุมชนที่ว่านี้ยังคงสืบสานประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิมซึ่งมีความแตกต่างจากฝั่งพระนคร รวมทั้งอาหารการกินที่สืบทอดมาแต่โบราณ เช่น ช่อม่วง ขนมจีบไทย ข้าวตังหน้าตั้ง หมี่กรอบ ข้าวตอกตั้ง ส้มฉุน ขนมเบื้องโบราณ ตลาดนัดในชุมชน ฯลฯ สิ่งเหล่านี้หากมีการรักษาไว้เป็นมรดกตกทอดอย่างถูกต้องก็จะสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยววิถีชุมชน สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนอย่างยั่งยืน
นอกจากนี้การลงพื้นที่ชุมชนของนิสิต MBA ศศินทร์ ยังเกิดการเรียนรู้ เปิดประสบการณ์ให้เห็นถึงความสำคัญและคุณค่าของฐานรากดั้งเดิมของชุมชนโบราณของไทย ซึ่งจะเกี่ยวโยงกับมุมมอง วิสัยทัศน์ ในการเป็นนักธุรกิจที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการที่มีอยู่แล้ว และยังสร้างจุดที่เป็นข้อแตกต่างให้สามารถทำการตลาดต่อไปได้ โดยเชื่อมโยงกับสิ่งที่ชุมชนมีอยู่ดั้งเดิม
ก่อนจะลงพื้นที่ในชุมชน นิสิตได้เรียนเนื้อหาทฤษฎีทางวิชาการ โดยมุ่งหวังว่านิสิตจะนำเนื้อหาที่เรียนมาปรับใช้จากการลงพื้นที่จริง เป็นการสร้างคนรุ่นใหม่ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมในการร่วมกันพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ โดยนำความรู้ที่เรียนมาผสมผสานต้นทุนทางวัฒนธรรมประเพณีที่มีอยู่ในพื้นที่ในการสร้างสินค้า บริการ สร้างรายได้ให้ชุมชนเติบโต โดยอัตลักษณ์ของชุมชนไม่ถูกทำลายไปตามการเติบโตของสังคมเมือง
ทั้งนี้ หลังจากที่นิสิตลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลของชุมชนแล้ว ได้มีการนำเสนอหัวข้อและเนื้อหาแก่อาจารย์ผู้สอนเกี่ยวกับการสร้างรายได้ทางการตลาดกับสิ่งที่ชุมชนมีอยู่ เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้กับแนวทางการตลาดของชุมชนต่อไป
จุฬาฯ จัดงาน “สยามานุสสติ ผสาน…ปณิธาน” การแสดงทางศิลปวัฒนธรรมโดยนิสิตจุฬาฯ
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Spark the Local 2024 by PTT
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ เปิดอบรมหลักสูตร “เครื่องมือการจัดการสิ่งแวดล้อม”
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้