ข่าวสารจุฬาฯ

จุฬาฯ จัดงาน “วันที่ระลึกวันทรงดนตรี” น้อมรำลึกในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จฯ ทรงดนตรีที่จุฬาฯ

เมื่อวันอังคารที่ 20 กันยายน 2565 เวลา 18.00 – 21.00 น. ณ หอประชุมจุฬาฯจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัด งาน “วันที่ระลึกวันทรงดนตรี” โดยมี ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกา ธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่เสด็จฯ มาทรงดนตรีที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างปี 2501 – 2516 ในงานมีการบริจาคเงินสมทบทุนมูลนิธิอานันทมหิดล ดังเช่นที่เคยปฏิบัติมาในงานวันที่ระลึกวันทรงดนตรี 20 กันยายนของทุกปี

            งาน “วันที่ระลึกวันทรงดนตรี” ในปีนี้ วงดนตรี CU Band และ วงพี่เก่า OCU Band ขับขานบทเพลงเพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง รวมทั้งบทเพลงพระราชนิพนธ์อันไพเราะ ได้แก่ สดุดีพระแม่ไทย แสงส่องไทย อิสสริยะมหาราชินี เพลินภูพิงค์ ความฝันอันสูงสุด เกิดเป็นไทยตายเพื่อไทย แผ่นดินของเรา รัก Sweet Words ยิ้มสู้ ลมหนาว Old Fashioned Melody ภิรมย์รัก No Moon ส่งท้ายด้วยสามบทเพลงพิเศษที่สร้างความประทับใจให้ผู้ชมเป็นอย่างยิ่ง ได้แก่ เพลง เศรษฐาอำลาแล้ว แด่ครูชาลีที่เวียงสวรรค์ และบทเพลง ไม่มีวันลืมพระคุณจุฬาฯ  

             “วันทรงดนตรี” เกิดจากพระมหากรุณาธิคุณที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานแก่คณาจารย์และนิสิตจุฬาฯ ที่ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเข้าเฝ้าฯ เพื่อถวายพระพรแด่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ ที่ประสูติเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2500 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นิสิตจุฬาฯ เข้าเฝ้าฯ เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2500 ณ เวทีลีลาศสวนอัมพร ต่อมาได้รับสั่งกับ นายสันทัด ตัณฑนันทน์ หัวหน้าวงดนตรีสากล สโมสรนิสิตจุฬาฯ สมัยนั้น ว่าจะนำวงลายครามมาบรรเลงที่จุฬาฯ งานวันทรงดนตรีที่จุฬาฯ จึงเริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2501

            พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จฯมาทรงดนตรีที่จุฬาฯ ระหว่างปี 2501 – 2516 เนื่องจากทรงมีพระราชภารกิจเพิ่มขึ้นจึงไม่ได้เสด็จฯมาทรงดนตรีที่มหาวิทยาลัยอีกจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดงานวันที่ระลึกวันทรงดนตรีในวันที่ 20 กันยายนของทุกปีโดยกำหนดไว้ในปฏิทินกิจกรรมของมหาวิทยาลัย

จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด

คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า