ข่าวสารจุฬาฯ

คำถาม – คำตอบ (FAQs) “COVID-19” โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง เริ่ม 1 ต.ค. 2565 ชาวจุฬาฯ เตรียมตัวอย่างไร

จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19 ที่มีจำนวนผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและอัตราการเสียชีวิตลดลง โดยกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกำหนดให้ COVID-19  จากโรคติดต่ออันตราย เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไปนั้น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เผยแพร่คำถาม – คำตอบ (FAQs)  เพื่อให้ข้อมูล ข้อแนะนำ และแนวทางการปฏิบัติตัวสำหรับชาวจุฬาฯ ดังนี้

– เริ่ม 1 ต.ค. 2565 มีอะไร?

 รัฐบาลลดระดับ COVID-19 จาก “โรคติดต่ออันตราย” มาเป็น “โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง”

– โรคติดต่ออันตรายต่างกับโรคติดต่อที่เฝ้าระวังอย่างไร?

  โรคติดต่ออันตราย มีความรุนแรงสูง แพร่ไปสู่ผู้อื่นได้อย่างรวดเร็ว เช่น โรคซาร์ส โรคเมอร์ส

  โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง มีความรุนแรงไม่มาก แต่มีการติดตามอย่างต่อเนื่อง เช่น ไข้หวัดใหญ่ คอตีบ

– มีข้อแนะนำในการเฝ้าระวังอย่างไร?

   สวมหน้ากากอนามัย โดยเฉพาะในพื้นที่ปิด เช่น ห้องเรียน ห้องสอบ รถโดยสาร เว้นระยะห่างตามความ  

  เหมาะสม และให้ติดตามมาตรการเพิ่มเติมอื่นๆ ของคณะ/ส่วนงาน

– หากนิสิตหรือบุคลากรติด COVID-19  ต้องกักตัวหรือไม่?

  “ไม่จำเป็น” แต่ต้องทำตามข้อแนะนำในการเฝ้าระวัง หรือให้เป็นไปตามที่คณะ/ส่วนงานเห็นสมควร

– หากป่วยเป็น COVID-19 ใช้หลักฐานอะไรในการลา?

  กรณีนิสิตขาดเรียน/ขาดสอบ ให้ใช้ใบรับรองแพทย์และทำเรื่องการลา/ขาดสอบตามระเบียบปกติ

  กรณีบุคลากร ลาป่วย ได้ตามระเบียบปกติ หรือหัวหน้าส่วนงานสามารถพิจารณาให้ Work from   

    Home ได้

– หากนิสิตป่วยในวันที่จัดสอบ ควรทำอย่างไร?

  พบแพทย์เพื่อใช้ใบรับรองแพทย์ในการลา และทำตามระเบียบและประกาศที่เกี่ยวกับการสอบ

– หากนิสิต/บุคลากรผู้ติดเชื้อมีข้อกังวล ควรติดต่อใคร?

  นิสิต-บุคลากรมีอาการเจ็บป่วยรุนแรง/ฉุกเฉิน สามารถติดต่อศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาฯ โทร. 0-2218-0568  หรือโรงพยาบาล ตามสิทธิ์

จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด

คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า