ข่าวสารจุฬาฯ

ข้อแนะนำในการวางแผนการจัดการวัดและประเมินผล ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2565

สำนักบริหารวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้ข้อแนะนำในการวางแผนการจัดการวัดและประเมินผล ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2565 โดยขอให้ปฏิบัติตามประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง แนวทางการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรค COVID-19 พ.ศ. 2564 ลงวันที่ 16 ธันวาคม 2564 ตามสถานการณ์ระดับที่ 1 โดยมีข้อแนะนำเพิ่มเติมดังนี้

            – เน้นการวัดและประเมินผลผู้เรียนด้วยการใช้วิธีการที่หลากหลายและสะท้อนถึงการบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม

            – หากมีการจัดสอบ ควรจัดสอบในสถานที่ตั้ง (Onsite Examination) โดยแนะนำให้มีมาตรการการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดังนี้

            1. สวมหน้ากากอนามัยโดยเฉพาะในพื้นที่ปิด เช่น ห้องเรียน ห้องสอบ รถโดยสาร ฯลฯ

            2. เว้นระยะห่างระหว่างบุคคลตามความเหมาะสม

            3. ทำความสะอาดมือด้วยแอลกอฮอล์เจลเป็นระยะ

ทั้งนี้ ส่วนงานอาจกำหนดมาตรการเพิ่มเติมอื่นๆ ตามความจำเป็นและเหมาะสม

            – ความเจ็บป่วยของนิสิต ครอบคลุมถึงความเจ็บป่วยทุกชนิดที่สามารถติดต่อสู่บุคคลอื่นได้

กรณีนิสิตเจ็บป่วยหรือต้องกักตัว ไม่สามารถเดินทางมาสอบในสถานที่ตั้งได้ อาจดำเนินการตามตัวอย่างรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งต่อไปนี้หรือการดำเนินการรูปแบบอื่นตามที่รายวิชาเห็นสมควร

▪จัดสอบในรูปแบบผสมผสาน โดยให้นิสิตทั่วไปสอบในสถานที่ตั้งและนิสิตที่เจ็บป่วยหรือต้องกักตัวสอบแบบออนไลน์ และมีระบบ proctor (เช่น เปิดกล้อง) เพื่อดูแลนิสิตที่สอบแบบออนไลน์ตลอดช่วงระยะเวลาสอบ

▪จัดสอบให้กับนิสิตที่เจ็บป่วยหรือต้องกักตัวในภายหลัง โดยต้องพิจารณาถึงความเป็นธรรมต่อนิสิตทุกกลุ่ม

▪ใช้รูปแบบการวัดและประเมินผลผู้เรียนรูปแบบอื่น (เช่น ทำรายงาน) สำหรับนิสิตที่เจ็บป่วยหรือต้องกักตัว ทั้งนี้รูปแบบการวัดและประเมินผลผู้เรียนที่ปรับเปลี่ยนไปจะต้องสามารถสะท้อนถึงการบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนได้เทียบเท่ากับการจัดสอบในสถานที่ตั้ง

หมายเหตุ 1. หัวหน้าส่วนงานสามารถวินิจฉัยสั่งการหรือกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร

                 2. กรณีที่นิสิตขาดสอบและรายวิชากำหนดให้นิสิตมาสอบในภายหลัง จะต้องให้นิสิตทำเรื่องการลา/ขาดสอบตามกระบวนการของมหาวิทยาลัยตามปกติ โดยต้องส่งใบรับรองแพทย์เป็นหลักฐานประกอบการลา/ขาดสอบด้วย และนิสิตจะต้องทำเรื่องการลา/ขาดสอบของทุกรายวิชาที่จัดสอบในช่วงที่นิสิตลาป่วย มิเช่นนั้นจะถือว่าการสอบของนิสิตเป็นโมฆะทั้งหมด

กรณีนิสิตที่เจ็บป่วยยืนยันจะมาเข้าสอบในสถานที่ตั้ง หรือตรวจพบนิสิตมีอาการก่อนเริ่มเข้าสอบ

            ส่วนงานสามารถพิจารณา (1) จัดเตรียมแผนสำรองไว้ตามที่ระบุไว้ด้านบน หรือ (2) จัดเตรียมห้องสอบสำรองเพื่อแยกนิสิตที่เจ็บป่วยแบบมีอาการและต้องกักตัว หรือ (3) ใช้วิธีการอื่นๆ ตามความเหมาะสม

ข้อแนะนำในการวางแผนการจัดการวัดและประเมินผล ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2565


ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง แนวทางการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลการศึกษา ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรค COVID-19 พ.ศ. 2564 ลงวันที่ 16 ธันวาคม 2564


จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า