รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
29 กันยายน 2565
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ผู้เขียน ชาติสยาม หม่อมแก้ว
“โลกดิจิทัล” มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างและเปลี่ยนแปลงประสบการณ์ของผู้สูงวัย ไม่ว่าจะเป็นทางด้านสังคม เศรษฐกิจรายได้ อาชีพ สวัสดิการและสุขภาพ การเรียนรู้และสามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลจึงเป็นสิ่งสำคัญในการผสมผสานชีวิตประจำวันของ “ผู้สูงวัย” เข้ากับพลังและสีสันใหม่ ๆ ในการร่วมสร้างความสุขและโอกาสบนโลกดิจิทัล ทำให้ผู้สูงวัยเป็นยังคงเป็นหนึ่งในแรงผลักดันที่มีคุณค่าและแข็งแกร่งในการพัฒนาสังคมไทย
คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านความรอบรู้ทางดิจิทัลและการรู้เท่าทันสื่อ (DIRU) จัดงาน “Inspired Research Talk” ในหัวข้อ “ยังโอลด์ (Young-Old)…โอกาสบนโลกดิจิทัล” เมื่อวันพุธที่ 28 กันยายนที่ผ่านมา ณ ห้องประชุม ดร.เทียม โชควัฒนา ชั้น 3 อาคารมงกุฎสมมติวงศ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ เพื่อร่วมสร้างแรงบันดาลใจสู่การสร้างสังคมสูงวัยบนโลกดิจิทัลให้กับผู้สูงวัยและเจนเนอเรชันเอ็กซ์ที่จะก้าวสู่ผู้สูงวัยในอนาคต โดยมี อ.ไศลทิพย์ จารุภูมิ รองคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ เป็นผู้กล่าวเปิดงาน
“DIRU ตั้งใจจะหยิบยกงานวิจัยเรื่องการพัฒนาความรอบรู้ทางเทคโนโลยี เพื่อความมั่นคงทางรายได้ สุขภาพ และการใช้ชีวิตในสังคมของผู้สูงวัยบนฐานวิถีชีวิตใหม่ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) โดยนำผลงานวิจัยดังกล่าวมาสร้างเป็นแรงบันดาลใจเพื่อผู้สูงวัยในยุคดิจิทัล ในรูปแบบของงาน Inspired Research Talk” อ.ไศลทิพย์ กล่าว
จากนั้นมีการปาฐกถาพิเศษ “ภาพรวมของสังคมสูงวัยกับเทคโนโลยีดิจิทัล” โดย ดร.นพ.ภูษิต ประคองสาย เลขาธิการมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย ซึ่งได้กล่าวถึงสถานการณ์ผู้สูงวัยในปัจจุบันที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น
“หากเราสามารถที่จะทำให้ผู้สูงวัยไทยที่จะมีมากขึ้นถึง 20 ล้านคนในอนาคต มีความสามารถที่จะสร้าง productivity ให้กับสังคม ก็จะเป็นคุณูปการกับประเทศเป็นอย่างมาก งานวิจัยในครั้งนี้ถือเป็นจุดตั้งต้นที่ผู้สูงวัยจะได้นำเอาเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาคุณภาพชีวิตของตัวเอง และสร้างรายได้ในอนาคต” ดร.นพ.ภูษิต กล่าว
ต่อด้วยปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “แรงบันดาลใจจากวิจัยสู่โอกาสผู้สูงวัยในสังคมดิจิทัล” โดย รศ.ดร.พนม คลี่ฉายา หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยฯ DIRU คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ และหัวหน้าโครงการวิจัยเรื่อง “การพัฒนาความรอบรู้ทางเทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงทางรายได้ สุขภาพ และการใช้ชีวิตในสังคมผู้สูงอายุบนฐานวิถีชีวิตใหม่” ซึ่งได้กล่าวถึงเรื่องของ “พฤฒิพลัง” หรือ “Active Aging” ว่าเป็นสิ่งที่จะเปลี่ยนมุมมองต่อผู้สูงวัยใหม่ โดยเฉพาะในอนาคตที่ผู้สูงวัยต้องท้าทายกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเทคโนโลยี
“การเปลี่ยนมุมคิดผู้สูงวัยกับเทคโนโลยีสู่ Active Aging หรือผู้สูงอายุที่ยังมีพลังและกระปรี้กระเปร่าช่วยให้ผู้สูงอายุเห็นโอกาสของตัวเองที่จะใช้เทคโนโลยีสร้างความมั่นคงให้กับตัวเองในโลกดิจิทัล และช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถสร้างสังคมสูงวัยได้อย่างยั่งยืน” รศ.ดร.พนม กล่าว
ภายในงานมีกิจกรรม Inspired Research Talk หัวข้อ “ยังโอลด์ (Young-Old) …โอกาสบนโลกดิจิทัล” โดยวิทยากรต่างรุ่นวัยจากหลายแพลตฟอร์มผู้สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้สูงวัยที่ยังคงเปี่ยมล้นด้วยศักยภาพให้ยังคงเป็นหนึ่งในแรงผลักดันที่มีคุณค่าและแข็งแกร่งในการพัฒนาและขับเคลื่อนสังคมไทยบนโลกดิจิทัล
คุณเกรียงไกร ช่วยดำรงสกุล วิศวกรโยธาและยูทูบเบอร์ล้านวิว ช่อง “คุยกับลุงช่าง” พูดในหัวข้อ “คอนเทนต์ครีเอเตอร์ (Content Creator) กับรายได้หลังเกษียณ” โดยเน้นย้ำว่าข้อจำกัดทางอายุนั้นเป็นเรื่องที่มนุษย์สมมติขึ้นและไม่มีอยู่จริง ตนเริ่มต้นจากจุดที่ไม่มีความรู้อะไรเลยเกี่ยวกับยูทูบ ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายวีดิโอ การจัดแสง เสียง ฯลฯ จนมาสู่จุดที่เริ่มมีรายได้ ตนเริ่มต้นการทำเพราะอยากทำ เห็นคนอื่นทำแล้วอยากทำบ้าง ไม่ได้มองด้านรายได้จากยูทูบเป็นหลัก แต่การที่มาเป็น content creator ตนมองว่าสิ่งที่ตามมาคือโอกาสที่มีมูลค่ามหาศาล
“วันนี้เราทุกคนหลีกหนีคลื่นของเทคโนโลยีหรือโซเชียลมีเดียที่ถาโถมไม่ได้ ไม่มีเกาะ ไม่มีที่แห้งให้คุณขึ้นไปยืน มีทางเลือกแค่ 2 ทาง คือปล่อยให้ตัวเองถูกซัดจมไป หรือหยิบกระดานโต้คลื่นของคุณขึ้นมาแล้วเซิร์ฟไปกับมัน ท่องไปกับเทคโนโลยี สนุกกับมัน ใช้ประโยชน์แบบยังโอลด์” คุณเกรียงไกร กล่าว
คุณมะลิ สีดี แม่ค้าผ้าไหมคนงามถิ่นอีสาน เพจ “ผ้าไหม ป้ามะลิ บุรีรัมย์” ขึ้นมาพูดในหัวข้อ “ขายของออนไลน์…เรียนรู้ง่าย รายได้ปัง” บอกเล่าประสบการณ์การขายผ้าไหมสินค้าโอท็อปของชุมชนทางออนไลน์ จนมีรายได้หลักแสนบาทต่อวัน โดยที่เริ่มต้นเรียนรู้เทคโนโลยีและโซเชียลมีเดียใหม่ทั้งหมดในวัยสูงอายุ
“ป้าเป็นคนที่อยากรู้อยากเห็น ชอบศึกษา ก็เลยสนใจอยากขายสินค้าออนไลน์แบบคนอื่น ๆ เป็นความภูมิใจและดีใจที่เราทำได้ใช้เป็นและขายดีมากกว่าเดิมมาก เพราะเราไม่เคยรู้ ไม่คุ้นเคยกับโลกดิจิทัลหรือเทคโนโลยีมาก่อน ไม่ต้องเปิดร้านหรือไปออกบูท ก็มีคนทักมา ขายได้ตลอด ทำให้สามารถอยู่รอดได้ในช่วงที่โควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อการค้าที่ผ่านมา”
ทางด้าน รศ.ไตรรัตน์ จารุทัศน์ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการออกแบบเพื่อทุกคน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ที่มาแบ่งปันแรงบันดาลใจในหัวข้อ “สมาร์ตลิฟวิง (Smart Living)…สูงวัย อุ่นใจ ในบ้าน” ได้เน้นย้ำในเรื่องของ 3 พื้นที่ความสุขของผู้สูงวัย ได้แก่ สุขกาย สุขใจ และสุขสังคม ที่จะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไปไม่ได้ พร้อมกับยกกรณีตัวอย่างการปรับปรุงที่อยู่อาศัยให้กับผู้สูงอายุ โดยคำนึงถึงพื้นที่ทั้ง 3 ด้านดังกล่าว
“เทคโนโลยีช่วยให้ผู้สูงวัยได้เชื่อมต่อกับคนหลากหลายวัย ก่อให้เกิดพื้นที่ความสุขทางสังคม ทั้งนี้ Hi-Tech ต้องมาพร้อมกับ HI-Touch ด้วย” รศ.ไตรรัตน์ กล่าว
คุณชลิพา ดุลยากร (นะโม) ติ๊กต็อกเกอร์ต่างรุ่นวัย “Rungrangdiary” (รุงรังไดอารี) มาแชร์เรื่องราวน่ารักๆ ระหว่างคุณย่าวัย 87 ปี และหลานๆ ในหัวข้อ “เชื่อมสัมพันธ์ต่างรุ่นวัยสไตล์ติ๊กต็อกเกอร์” โดยถ่ายทอดความรู้สึกของคุณย่าที่มีต่อโลกดิจิทัลว่าช่วยให้ใกล้ชิดกับหลานๆ และครอบครัวมากขึ้น ทำให้วันแต่ละวันผ่านไปอย่างรวดเร็วและมีค่า ทั้งยังสนุกและมีความสุขที่ได้เรียนรู้ ถือเป็นกำลังใจในช่วงปั้นปลายชีวิตที่ดี
“ในมุมมองของนะโม ผู้สูงวัยมักจะมีกำแพงอยู่ว่าฉันแก่แล้ว ฉันอาจจะทำไม่ได้ ชิงปฏิเสธไปก่อน แต่กับ คุณย่า ไม่ว่าจะชวนท่านทำกิจกรรมอะไร คุณย่าก็จะเปิดใจลองเสมอ เรื่องเทคโนโลยีและโซเชียลมีเดียก็เหมือนกัน” คุณชลิพา กล่าว
ปิดท้ายที่ คุณเบ้นซ์ ณัฐพงศ์ ผาทอง นักแสดงวัยรุ่นสายรักครอบครัว ในหัวข้อ “โซเชียลมีเดีย…ต่างรุ่นต่างวัย แต่ใจแฮปปี้” ที่มาบอกเล่าเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างตนและครอบครัว ที่มีอุปสรรคคือระยะห่าง โดยมีเทคโนโลยีและโซเชียลมีเดียเป็นสื่อกลางเชื่อมถึงกัน
“ข้อดีของเทคโนโลยีและโลกดิจิทัล นอกจากใช้เป็นตัวกลางในการสื่อสารในครอบครัวแล้ว ยังทำให้เราได้ใช้เวลาร่วมกัน เช่น เวลาที่ผมสอนท่านให้ใช้แอปพลิเคชันหรือฟังก์ชันบางอย่างของโทรศัพท์ ก็ทำให้เราได้ใกล้ชิดกันมากขึ้นด้วย” คุณเบ้นซ์ ณัฐพงศ์กล่าว
งาน Inspired Research Talk “แรงบันดาลใจจากวิจัยสู่โอกาสผู้สูงวัยในสังคมดิจิทัล” เป็นกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นจากจากโครงการวิจัยเรื่อง “การพัฒนาความรอบรู้ทางเทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงทางรายได้ สุขภาพ และการใช้ชีวิตในสังคมผู้สูงอายุบนฐานวิถีชีวิตใหม่” ซึ่งหน่วยปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านความรอบรู้ทางดิจิทัลและการรู้เท่าทันสื่อ (DIRU) คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.)
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Spark the Local 2024 by PTT
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้