ข่าวสารจุฬาฯ

ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ นำเสนอการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมฮาลาล ในงานประชุมวิชาการนานาชาติฮาลาลที่สหรัฐอเมริกา

ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศวฮ.) ได้รับเชิญเข้าร่วมประชุมและนำเสนอผลงานในงานประชุมวิชาการด้านฮาลาลนานาชาติ IFANCA 40th Anniversary and 21st International Halal Food Conference ระหว่างวันที่ 18 – 20 กันยายน 2565 ณ โรงแรม Renaissance Schaumburg Convention Center เมืองชอมเบิร์ก รัฐอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา จัดโดย IFANCA (Islamic Food and Nutrition Council of America) ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านการรับรองฮาลาลที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา มีผู้เข้าร่วมงานกว่า 150 คน จากหลากหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตุรกี  ปากีสถาน อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงค์โปร และไทย โดย รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล ได้มอบหมายให้ ดร.อาณัฐ เด่นยิ่งโยชน์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ฯ และ ดร.อัซอารีย์ สุขสุวรรณ นักวิจัย เข้าร่วมนำเสนอแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาลของไทยในงานประชุมดังกล่าว

ดร.อาณัฐ เด่นยิ่งโยชน์ ได้ร่วมนำเสนอใน SESSION 5 – Food Forensics: The Role of Ingredient and Product Testing (Panel) เรื่อง“The Experiences of HSC’s Halal Forensic Laboratory (HAFOLAB) on Ingredients and Products Testing” ซึ่งได้บรรยายเกี่ยวกับห้องปฏิบัติการนิติวิทยาศาสตร์ฮาลาลและการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ การใช้ห้องปฏิบัติการในการทวนสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์และงานคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งงานวิจัยด้านการพัฒนาเทคนิคใหม่ๆ ที่พัฒนาขึ้นโดย ศวฮ. การบรรยายในครั้งนี้ได้รับความสนใจจากผู้ฟังเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นการถ่ายทอดประสบการณ์และการใช้ห้องปฏิบัติการจริง และมีข้อมูลเชิงประจักษ์ให้เห็นได้ชัด

ดร.อัซอารีย์ สุขสุวรรณ ได้นำเสนอใน SESSION 8 – Multi-Country Standards: Focus Asian Countries (Panel) หัวข้อ “The Past, Current State, Anticipated Future of Halal Regulation in Thailand: The Contribution of Science and Technology” ซึ่งเกี่ยวกับภาพรวมการรับรองฮาลาลของไทยที่ผ่านมาและยุทธศาสตร์ในอนาคตโดยการสนับสนุนจากรัฐบาลผ่านมติคณะรัฐมนตรีในการผลักดันฮาลาลด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮาลาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่าง Blockchain ในการทวนสอบคุณภาพวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ ผ่านกระบวนการ precision halalization ผ่านทั้งกระบวนการ HAL-Q, H numbers, SPHERE เพื่อสร้างความปลอดภัยและเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภค การนำเสนอครั้งนี้ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก หลังจากนำเสนอเสร็จ ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโดยเฉพาะเรื่องระบบ HAL-Q , H numbers และระบบ Blockchain

การเข้าร่วมการประชุมและนำเสนอผลงานในครั้งนี้ ศวฮ.ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีและส่งเสริมความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาลของประเทศไทยให้เป็นที่ยอมรับในสังคมวิชาการระดับนานาชาติ ตลอดจนเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เสริมสร้างภาพลักษณ์ผู้นำด้านนวัตกรรมฮาลาลของไทย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและการส่งออกผลิตภัณฑ์ฮาลาลของไทย รวมถึงเพื่อการสร้างเครือข่ายด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาลนานาชาติกับหน่วยงานวิชาการต่อไป

ทั้งนี้ ดร.อาณัฐ และ ดร.อัซอารีย์ ได้เข้าพบนางนาฎนภางค์ ดำรงสุนทรชัย รองกงสุลใหญ่ ณ นครชิคาโก เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2565 ซึ่งได้รายงานผลการประชุมวิชาการฮาลาลนานาชาติซึ่งจัดโดย IFANCA และหารือเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการขยายความร่วมมือด้านวิชาการด้านอาหารกับมหาวิทยาลัยในนครชิคาโกแนวทางในการส่งเสริมสินค้าฮาลาลไทยในตลาดสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดที่มีความท้าทายเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดผลิตภัณฑ์ที่มาจากพืช

นอกจากนี้ผู้แทนจาก ศวฮ. ได้เยี่ยมชมศึกษาดูงาน ณ IFANCA ซึ่ง Dr.Muhammad M. Chaudry ประธาน IFANCA ได้มอบหมายให้ Dr.RaFi Shaik,  Food Scientists & Technical Auditor ให้การต้อนรับและให้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางและกระบวนการรับรองฮาลาลทั้งในประเทศและต่างประเทศของ IFANCA แนวโน้มตลาดฮาลาลในอเมริกาและความเอาใส่ใจของผู้บริโภคต่อคุณภาพและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์  โดยผู้แทนจาก ศวฮ. ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลของประเทศไทยและการทำงานด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาลในการสนับสนุนการรับรองฮาลาล รวมทั้งนำเสนอและเชิญชวนคณะทำงานของ IFANCA มาร่วมงานประชุม Thailand Halal Assembly 2022 ที่จะจัดในระหว่างวันที่ 15-16 ธันวาคม 2565 ด้วย

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า