รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
4 ตุลาคม 2565
ข่าวเด่น
ผู้เขียน ขนิษฐา จันทร์เจริญ
หลายคนอาจเคยประสบปัญหาฟันผุ และได้รับการอุดฟันจากทันตแพทย์กันมาบ้างแล้ว ซึ่งมักเป็นประสบการณ์ที่มาพร้อมความเจ็บปวดจนหลายครั้งเรามักจะไม่อยากไปรับการรักษา แต่ฟันผุนี่เอง ที่สามารถก่อปัญหาได้มากกว่าที่คิด
จากโพสต์ของ นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์เฉพาะทางโรคระบบทางเดินหายใจ เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2565 เกี่ยวกับผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ด้วยอาการไอ มีเสมหะ และเจ็บหน้าอกเวลาไอ ต่อมาได้รับการตรวจเพิ่มเติมและวินิจฉัยว่าเป็นหนองในช่องเยื่อหุ้มปอด (Empyema Thoracis) มีสาเหตุมาจากฟันผุหลายซี่จนเกิดเป็นหนองและลุกลามไปที่ช่องเยื่อหุ้มปอด ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ไม่บ่อยนัก แต่หากเกิดแล้วไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงทีอาจส่งผลเสียจนถึงขั้นเสียชีวิตได้
อ.นพ.ทพ.เฉลิมฤทธิ์ พฤกษ์สดใส ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับฟันผุว่ามีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียในช่องปากสะสมบริเวณฟัน และสร้างกรดทำลายเนื้อฟัน หากไม่ได้รับการอุดฟันจะมีการลุกลามจนถึงประสาทฟันทำให้มีอาการปวด ซึ่งหลายคนมักซื้อยามารับประทานบรรเทาอาการจนหายและเข้าใจว่าไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาต่อ จนส่งผลให้เกิดการติดเชื้อบริเวณช่องปาก ขากรรไกรและใบหน้าได้
การติดเชื้อบริเวณช่องปาก ขากรรไกรและใบหน้า (Oral and Maxillofacial Infection) นั้นอาจมีสาเหตุจากฟันหรือโพรงอากาศไซนัสได้ มักมีอาการปวดและบวม ซึ่งสามารถบวมได้ตั้งแต่บริเวณแก้ม ขมับ หรือใต้คาง หากลุกลามถึงกล้ามเนื้อบดเคี้ยวจะมีอาการอ้าปากได้น้อย อาจมีการติดเชื้อรุนแรงถึงบริเวณคอทำให้มีอาการกลืนลำบาก และกดหลอดลมจนหายใจลำบาก หรืออาจรุนแรงถึงขั้นติดเชื้อในกระแสเลือด จนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ซึ่งนอกจากการติดเชื้อลุกลามไปบริเวณทรวงอกแล้ว การติดเชื้อนั้น ยังสามารถลุกลามไปบริเวณผิวหนังทำให้เกิดการตายของผิวหนังบริเวณคอและอก รวมทั้งยังสามารถลุกลามไปบริเวณตาและสมองได้
“จะเห็นได้ว่า “แค่ฟันผุ” คงไม่ใช่แค่คำว่า “แค่” อีกต่อไป อยากให้ทุกคนมารับการตรวจสุขภาพช่องปากอย่างสม่ำเสมอ หรือรีบมาปรึกษาทันตแพทย์เมื่อมีอาการดังกล่าวก่อนที่จะสายเกินไป” อ.นพ.ทพ. เฉลิมฤทธิ์ กล่าวในที่สุด
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ เปิดอบรมหลักสูตร “เครื่องมือการจัดการสิ่งแวดล้อม”
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้