รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
11 ตุลาคม 2565
ข่าวเด่น
ผู้เขียน ผศ.ดร. ชนวีร์ สุภัทรเกียรติ
“การประกันภัย”เป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับคนทั่วไปเพราะสามารถช่วยป้องกันจากความสูญเสียที่ราคาสูงได้ เช่น ประกันอัคคีภัยจะช่วยจ่ายชดเชยค่าเสียหายจากไฟไหม้บ้าน ถึงแม้ว่าโอกาสที่จะเกิดไฟไหม้บ้านนั้นต่ำมากๆ แต่ถ้าเกิดขึ้นมาแล้วมูลค่าความเสียหายจะสูงมาก ทำให้คนส่วนใหญ่เลือกที่จะซื้อประกันเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากความเสียหายที่เกิดขึ้น ในขณะที่ผู้ซื้อประกันมองว่าขนาดความเสี่ยงจากอัคคีภัยนั้นสูงมาก แต่บริษัทประกันที่มีลูกค้ามากจะไม่กังวลกับความเสี่ยงนี้เลย เพราะบริษัทประกันสามารถรับความเสี่ยงจากลูกค้าหลายเจ้าแล้วนำมารวมกันเพื่อกระจายความเสี่ยงให้ “หาย” ไปได้
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าบริษัทมี 1 ล้านกรมธรรม์ สมมุติให้แต่ละกรมธรรม์มีโอกาสที่จะเกิดไฟไหม้บ้าน ใน 1 ปีเท่ากับ 1 ในหมื่น หรือ 0.01% เมื่อมองในภาพรวมของบ้าน 1 ล้านหลังจะพบว่าจำนวนบ้านที่ไฟไหม้จะใกล้เคียงกับ 100 หลังต่อปีเสมอ หรือเรียกได้ว่าแทบจะไม่มีความเสี่ยงเลย นั่นเป็นเพราะกฎทางคณิตศาสตร์ที่ชื่อ “Law of Large Numbers” ที่กล่าวว่าเมื่อนำความเสี่ยงที่เป็นอิสระต่อกันจำนวนมาก ๆ มารวมกัน ความเสี่ยงรวมของทั้งหมดจะหายไป เช่น กรณีเมื่อเราทอยลูกเต๋า 1 ลูก แต้มที่ออกจะมีค่าได้ตั้งแต่ 1 ถึง 6 (เสี่ยงมาก) แต่เมื่อทอย 3-4 พันลูก ผลรวมของแต้มหารด้วยจำนวนลูกที่ทอยจะเท่ากับหรือใกล้เคียง 3.5 เสมอ ความเสี่ยงจะหายไปเลย (ไม่เสี่ยง)
ความสวยงามของธุรกิจประกันภัยก็คือการที่บริษัทสามารถช่วยลูกค้าในการป้องกันความเสี่ยงที่สูงสำหรับลูกค้า โดยที่บริษัทเองแทบไม่ต้องแบกรับความเสี่ยงเลย เนื่องจากบริษัทสามารถกระจายความเสี่ยงให้หายไปตามกฎ Law of Large Numbers นั่นเอง
ผศ.ดร.ชนวีร์ สุภัทรเกียรติ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำเสนอบทความเรื่อง สาเหตุความล้มเหลวของประกันโควิดแบบ “เจอ จ่าย จบ” โดยให้ข้อมูลว่าในปี 2563 บริษัทประกันจำนวนมากขายประกันโควิดแบบ “เจอจ่ายจบ” โดยมีเบี้ยประกันประมาณ 500 บาท ซึ่งถ้าติดโควิดใน 1 ปีก็จะได้เงิน 100,000 บาท “เจอจ่ายจบ”นี้เป็นที่นิยมมาก ในปีแรกบริษัทประกันทำกำไรมากจากการขายประกันชนิดนี้ เพราะประเทศไทยมีอัตราการติดเชื้อโควิดที่ต่ำมาก เนื่องจากรัฐบาลดำเนินนโยบายเข้มงวดและป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่เข้าประเทศ แต่ในปีที่ 2 และปีที่ 3 จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น จนทำให้บริษัทประกันหลายบริษัทต้องล้มละลายเนื่องจากมีจำนวนเคลมที่สูงมากจนไม่สามารถจ่ายค่าสินไหมได้
ในปี 2563 โอกาสติดเชื้อโควิดของประชากรไทยอยู่ที่ 0.01% (มีผู้ติดเชื้อ 7,000 คนจากประชากรไทย 70 ล้านคน) ดังนั้นสมมุติว่าถ้าบริษัทประกันมีกรมธรรม์เจอจ่ายจบ 1 ล้านกรมธรรม์ บริษัทจะได้รับเงินค่าเบี้ยประกันรวม 500 ล้านบาท ในขณะที่ใน 1 ล้านกรมธรรม์นั้นจะมีผู้ติดเชื้อเท่ากับ 0.01% ของ 1 ล้าน หรือซึ่งก็คือ 100 คน ดังนั้นบริษัทต้องจ่ายค่าสินไหมรวม 10 ล้านบาท ซึ่งในปีแรกนี้บริษัทกำไรดีมากเพราะได้รับเบี้ยประกัน 500 ล้านบาทแต่จ่ายค่าสินไหมเพียงแค่ 10 ล้านบาท นั่นเป็นเพราะอัตราการติดเชื้อของคนไทยในปีนั้นต่ำมาก ๆ แค่ 0.01% ในขณะที่ในปีเดียวกันอัตราการติดเชื้อของสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 9% ซึ่งสูงกว่าไทย 900 เท่า นั่นเป็นเพราะอเมริกาไม่ได้มีนโยบายควบคุมที่เข้มข้นเหมือนประเทศไทย ถ้าประเทศไทยมีอัตราการติดเชื้อเท่ากับ 9% เหมือนอเมริกา ผู้ทำประกัน 1 ล้านคนจะติดเชื้อสูงถึง 90,000 คน ทำให้บริษัทจะต้องจ่ายค่าสินไหม 9,000 ล้านบาท จากเบี้ยประกันที่ได้รับแค่ 500 ล้านบาท นั่นหมายถึงบริษัทจะล้มละลายในทันที จะเห็นว่าบริษัทประกัน “เจอจ่ายจบ” จะกำไรหรือขาดทุนขึ้นอยู่กับค่าอัตราการติดเชื้อของคนในประเทศเป็นหลักสำคัญ โดยมีจุดคุ้มทุนที่ 0.5% ถ้าอัตราการติดเชื้อต่ำกว่า 0.5% บริษัทจะกำไร แต่ถ้าสูงกว่า 0.5% บริษัทจะขาดทุน จากข้อมูลประเทศที่ดำเนินนโยบายผ่อนคลายและเปิดเมือง อัตราการ ติดเชื้อจะเกิน 0.5% ดังนั้นความเสี่ยงหลักของประกันโควิดแบบ “เจอจ่ายจบ” ก็คือความเสี่ยงจากนโยบายจากภาครัฐว่าจะเข้มงวดล็อกดาวน์หรือไม่นั่นเอง ถ้ารัฐบาลยังเข้มงวด อัตราการติดเชื้อก็จะต่ำมาก บริษัทประกันก็จะทำกำไรเหมือนปี 2563 แต่ถ้ารัฐบาลเปลี่ยนมาใช้นโยบายผ่อนคลายเปิดประเทศเหมือนชาติตะวันตก อัตราการติดเชื้อก็จะสูงมาก บริษัทประกันมีโอกาสจะขาดทุนแบบล้มละลาย
จะเห็นว่าการประกันโควิดแบบ “เจอจ่ายจบ” แตกต่างจากการประกันอัคคีภัยอย่างสิ้นเชิง เพราะในการประกันอัคคีภัย ความเสี่ยงของการเกิดไฟไหม้ของแต่ละบ้านเป็นอิสระต่อกัน จึงสามารถนำมากระจายความเสี่ยงให้หายไปได้ตามกฎ Law of Large Numbers แต่ในกรณีประกันโควิด ความเสี่ยงของการติดเชื้อโควิดของแต่ละคนไม่เป็นอิสระต่อกัน เพราะโอกาสในการติดเชื้อของทุกคนขึ้นอยู่กับนโยบายการล็อกดาวน์ของรัฐบาล เราไม่ได้มีหลายรัฐบาล เรามีแค่รัฐบาลเดียว จึงไม่สามารถนำมากระจายความเสี่ยงให้หายไปตามกฎ Law of Large Numbers ได้ ดังนั้นการออกประกันแบบ “เจอจ่ายจบ” จึงไม่ใช่การกระจายความเสี่ยง แต่เป็นการแทงเดิมพัน(หรือแทงพนัน) โดยเดิมพันว่ารัฐบาลจะดำเนินนโยบายปิดเมืองหรือเปิดเมืองนั่นเอง ถ้าปิดเมืองต่อไปบริษัทก็จะกำไร แต่ถ้าเปิดเมืองเมื่อไรบริษัทก็จะขาดทุนแบบล้มละลายทันที
จากบทเรียนนี้ทำให้รู้ว่าบริษัทประกันไม่ควรออกผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงในลักษณะเดิมพันหรือการพนัน เพราะมันไม่สามารถกระจายความเสี่ยงให้หายไปได้ บริษัทประกันควรเน้นออกผลิตภัณฑ์ป้องกันความเสี่ยงที่สามารถกระจายความเสี่ยงให้หายไปได้ เหมือนอย่างกรณีประกันอัคคีภัย เป็นต้น
ประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ICESML 2025 การกำหนดภาวะผู้นำแห่งอนาคตและปัญญาประดิษฐ์ในการบริหารระบบการศึกษา
ผู้บริหารศศินทร์เข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แลกเปลี่ยนมุมมองอนาคตโอกาสทางธุรกิจในประเทศไทย
พิธีรดน้ำขอพรผู้สูงอายุที่ศูนย์ส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาฯ เนื่องในโอกาสวันสงกรานต์
“หนึ่งความเสียหาย หลายฝ่ายเกี่ยวข้อง: สำรวจสัญญาก่อสร้างภาครัฐ” คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนาให้ความรู้ในมุมมองทางกฎหมายและวิศวกรรม
“ในทรงจำนำทางอันรางเลือน” นิทรรศการข้ามศาสตร์ระหว่างวิทยาศาสตร์และศิลปะ ให้ความรู้ในแง่มุมหลากหลายของความทรงจำ
อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ค้นพบหลักฐานใหม่ในถ้ำกระบี่ บ่งชี้การกระจายตัวของ “ไฮยีนา” ทางภาคใต้ของไทยเมื่อสองแสนปีก่อน
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้