รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
19 ตุลาคม 2565
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ผู้เขียน เมธาพร ไตรกิจวัฒนกุล
ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้การสนับสนุนในการจัดกิจกรรม “50 ปี CU 15 โครงการปลูกป่าเพื่อคาร์บอนเครดิต” จัดโดยชมรมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2515 (CU15) เมื่อวันพุธที่ 5 ตุลาคม 2565 ณ โครงการพัฒนาที่ดินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สระบุรี ต.ชำผักแพว อ.แก่งคอย จ.สระบุรี โดยมี ผศ. ดร.วิเชฏฐ์ คนซื่อ ที่ปรึกษาศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค และ ผศ.ดร.นพดล กิตนะ ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค เป็นประธานกล่าวต้อนรับและพิธีเปิดงาน
ภายในงานมีการบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกป่าเพื่อคาร์บอนเครดิต โดย ผศ.ดร.พงษ์ชัย ดำรงโรจน์วัฒนา คณะกรรมการประเมินผลคาร์บอนเครดิตประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมทั้งมีการจัดแสดงสินค้าชุมชนจากผลิตภัณฑ์หญ้าแฝกของกลุ่มผู้จ้างงานภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานราก หลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) ต.ชำผักแพว ต.ห้วยแห้ง และ ต.ตาลเดี่ยว
หลังจากนั้น ชมรมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2515 (CU15) จำนวน 35 คน พร้อมด้วยครูนักเรียนโรงเรียนวัดศรัทธาเรืองศรี ร่วมพิธีเปิดป้ายโครงการและร่วมใจกันปลูกต้นสักและต้นยางนา จำนวน 1,500 ต้น บนพื้นที่ 15 ไร่ ซึ่งถือว่าเป็นป่าคาร์บอนเครดิตผืนแรกตามนโยบายจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากนี้ได้ปล่อยพันธุ์ปลาลงอ่างเก็บน้ำจุฬาฯ สระบุรี จำนวน 15,000 ตัว ในโอกาสนี้ คุณชนินทร์ ลีวิโรจน์ ประธานชมรมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่น 2515 มอบโทรทัศน์และอุปกรณ์อื่น จำนวน 2 ชุด และสีทารั้วให้กับโรงเรียนวัดศรัทธาเรืองศรี นำไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของโรงเรียนต่อไป
จุฬาฯ หัวเว่ย และ BUPT ร่วมพัฒนาบุคลากร ICT ในงาน Asia Pacific Cloud AI Forum & Huawei Developer Competition
อธิการบดีจุฬาฯ 1 เดียวผู้นำด้านการศึกษาจาก 48 ผู้ทรงอิทธิพลไทย
นิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ชนะเลิศการประกวดเดี่ยวเครื่องดนตรีไทยระดับอุดมศึกษาประเภทจะเข้และซอสามสาย
นิสิต BBA จุฬาฯ เยี่ยม! ทำคะแนนสอบ TCAS Inter 2024 ได้ที่ 1 ของประเทศ
ขอเชิญร่วมงาน “Chula Lunch Talk: อยู่ออฟฟิศก็เฟิร์มได้! ท่าออกกำลังง่าย ๆ สู้ Office Syndrome”
24 ม.ค. 68
สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาฯ
แนวปฏิบัติเพื่อรองรับมาตรการจัดการในสถานการณ์ปริมาณฝุ่น PM2.5
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้