ข่าวสารจุฬาฯ

ประชุมวิชาการนวัตกรรมทางการแพทย์ “กระแสโลกและองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับจุลินทรีย์ในลำไส้ ที่มีผลต่อสุขภาพของมนุษย์”

ปัจจุบันองค์ความรู้ใหม่ทางการแพทย์เกิดขึ้นมากมาย ความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ทำให้เราทราบว่าร่างกายของมนุษย์มี “จุลชีพ” มากมายหลายสายพันธุ์ อาศัยอยู่เป็นระบบนิเวศจุลชีพ (Microbiome) ในหลายอวัยวะในร่างกายของเรา การดำรงอยู่ของจุลชีพในร่างกายของมนุษย์ส่งผลต่อสุขภาพของร่างกายและการทำงานที่สัมพันธ์กับความเฉพาะของจุลชีพต่อบริเวณอวัยวะที่จุลชีพอยู่อาศัย ช่วยทำหน้าที่และมีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ปัจจุบันความรู้ดังกล่าวได้รับการเผยแพร่จากงานวิจัยมาสู่การประยุกต์ใช้จริงในภาคธุรกิจ มีผลิตภัณฑ์และบริการที่เกี่ยวข้องกับการทำความเข้าใจและการรักษาสมดุลของจุลชีพในลำไส้​ (Gut Microbiome) ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์ออกมาใช้ในเชิงพาณิชย์ เช่น ชุดตรวจจุลชีพในลำไส้ ผลิตภัณฑ์ โพรไบโอติกส์ พรีไบโอติกส์ และซิมไบโอติกส์ เป็นต้น

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา หลักสูตรชีวเวชศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ  เอมิลี่ ประเทศสิงคโปร์ และวัน จีโนม เอเชีย  จัดการประชุมวิชาการนวัตกรรมทางการแพทย์ “Thailand-Singapore Global Health Megatrend Symposium on Gut Microbiome” ในหัวข้อ “กระแสโลกและองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับจุลินทรีย์ในลำไส้ ที่มีผลต่อสุขภาพของมนุษย์” ในวันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน 2565 ในรูปแบบ Hybrid ทั้งการเข้าร่วมฟังแบบ Onsite (ที่นั่งจำนวนจำกัด) ณ ห้อง 801 อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (อาคารจามจุรี 10) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และการเข้าร่วมประชุม Online ผ่าน Zoom Meeting

ร่วมแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ในกระแสโลกและองค์ความรู้ใหม่ทางการแพทย์เกี่ยวกับจุลชีพในลำไส้ซึ่งมีผลต่อสุขภาพของมนุษย์ และกำลังเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจระดับโลก เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ บุคลากรและองค์กรทั้งในภาคการศึกษาทางการแพทย์ ผู้ชำนาญการทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์ รวมถึงภาคเอกชน เช่น ธุรกิจด้านสุขภาพ ผลิตภัณฑ์อาหาร อาหารเสริม และเครื่องดื่ม ฯลฯ

การประชุมวิชาการครั้งนี้มีวิทยากรจากหลากหลายส่วนที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละมิติ อาทิ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผศ.ดร.นพ.อมรพันธุ์ เสรีมาศพันธุ์ ศ.ดร.นพ.รัฐกร วิไลชนม์ ผศ.พญ.นิลรัตน์ นฤหล้า พญ.วิภากร เพิ่มพูล ดร.เจเรมี่ ลิม นพ.ปริญญา สมัครการไถ รศ.พญ.ดร.กนิษฐา ภัทรกุล อ.ดร.ณัฐธยาน์ ช่วยเพ็ญ คุณอนัญญา เหมวิจิตรพันธ์ เป็นต้น

ผู้สนใจเข้าร่วมการประชุมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมได้ที่ https://onegenomeasia.com/guthealthsymp/

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ contact@onegenomeasia.com หรือโทร. 06-4646-2541 

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า