รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
9 พฤศจิกายน 2565
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ
ผู้เขียน ธิติรัตน์ สมบูรณ์
นิสิตจุฬาฯ หลักสูตรนวัตกรรมบูรณาการ (BASCii) ทีม 18 Eyes เจ้าของแนวคิด “ttb forward” คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน “Financial Well-being HACKATHON for Thais Powered by ttb” จัดโดยธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นการพัฒนาโซลูชันในการนำ Tech & Data มาเป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อยกระดับการเงินของคนไทยในทุกกลุ่มเป้าหมายให้ดีขึ้น โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
Hackathon เป็นการแข่งขันเพื่อเฟ้นหาวิธีการในการแก้ไขปัญหาและสร้างสรรค์วิธีการยกระดับทางการเงินของคนไทยให้ดีขึ้น การแข่งขันแบ่งออกเป็น 3 รอบ และมีการพบเมนเทอร์ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินเพื่อให้คำแนะนำแก่ผู้เข้าร่วมการแข่งขันด้วย
สมาชิกทีม 18 Eyes เป็นนิสิตชั้นปีที่ 3 หลักสูตร BASCii ประกอบด้วย นางสาวเกษรทิพย์ มานะจิระ นายสุขเกษม ธนะรุ่งรักษ์ นายธนภูมิ จึงพิพัฒนกุล นางสาวเจนจิรา กิจเวคิน และนายอกฤษณ์ วรนิธิพงศ์ ซึ่งเป็นการรวมตัวของนิสิตที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้านมาทำงานร่วมกัน
ความสำเร็จของทีม 18 Eyes ที่ทำให้ชนะใจคณะกรรมการคือการตอบโจทย์ผู้ใช้งาน ซึ่งเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาโซลูชั่นที่น่าจับตามองในการยกระดับชีวิตทางการเงินของคนไทยในทุกกลุ่มเป้าหมายให้ดีขึ้น สำหรับจุดเด่นของแนวคิด “ttb forward” เป็นการนำเสนอวิธีการยกระดับคุณภาพทางการเงินอย่างยั่งยืนใน 4 ปัจจัย ประกอบด้วย “ฉลาดออม ฉลาดใช้ รอบรู้เรื่องกู้ยืม ลงทุนเพื่ออนาคต และมีความคุ้มครองที่อุ่นใจ” ด้วยฟังชันก์ที่น่าสนใจอย่าง Debt Lock ระบบตรวจสอบอัตโนมัติ จัดการการชำระ และแยกออกจากเงินที่จะใช้ได้ในแต่ละเดือน โดยไม่กระทบกับค่าใช้จ่ายรายวัน Predict monthly expense ระบบคำนวนค่าใช้จ่ายจำเป็นอย่างเช่น ค่าไฟฟ้า ค่าเช่าห้อง ค่าโทรศัพท์ ฯลฯ และ Refinance and Consolidate สำหรับคนที่เป็นหนี้ ระบบนี้จะช่วยบริหารชีวิตให้ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
ห้านิสิตทีม 18 Eyes กล่าวเพิ่มเติมว่า “หลักสูตรนวัตกรรมบูรณาการ (BASCii) ทำให้เราได้เรียนรู้ในศาสตร์ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ซึ่งพื้นฐานความรู้ที่ได้ศึกษาในห้องเรียนสามารถนำไปปรับใช้ทั้งการแข่งขันและการเตรียมตัวสู่การทำงานได้จริง ช่วยสร้างเสริมประสบการณ์ให้พวกเราเป็นอย่างมาก สามารถนำความรู้ไปต่อยอดในอนาคต”
จุฬาฯ หัวเว่ย และ BUPT ร่วมพัฒนาบุคลากร ICT ในงาน Asia Pacific Cloud AI Forum & Huawei Developer Competition
อธิการบดีจุฬาฯ 1 เดียวผู้นำด้านการศึกษาจาก 48 ผู้ทรงอิทธิพลไทย
นิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ชนะเลิศการประกวดเดี่ยวเครื่องดนตรีไทยระดับอุดมศึกษาประเภทจะเข้และซอสามสาย
นิสิต BBA จุฬาฯ เยี่ยม! ทำคะแนนสอบ TCAS Inter 2024 ได้ที่ 1 ของประเทศ
ขอเชิญร่วมงาน “Chula Lunch Talk: อยู่ออฟฟิศก็เฟิร์มได้! ท่าออกกำลังง่าย ๆ สู้ Office Syndrome”
24 ม.ค. 68
สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาฯ
แนวปฏิบัติเพื่อรองรับมาตรการจัดการในสถานการณ์ปริมาณฝุ่น PM2.5
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้