ข่าวสารจุฬาฯ

ความสำเร็จของการแข่งขันตอบปัญหาวิชาการทางวิทยาศาสตร์การแพทย์และเภสัชกรรม ครั้งที่ 1 ที่คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ

นักเรียนชั้นมัธยมปลายกว่า 600 คน จำนวน 300 ทีมจากโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศมารวมตัวกัน จนเต็มห้องประชุม 702 อาคาร 80 ปี เภสัชศาสตร์  คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ เพื่อเข้าร่วมการแข่งขันตอบปัญหาวิชาการทางวิทยาศาสตร์การแพทย์และเภสัชกรรม ครั้งที่ 1 หรือ Pharmaligence Academic Competition 2022 ซึ่งสโมสรนิสิตเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 – 6 พฤศจิกายน 2565 โดยมี ศ.ภญ.ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน แสดงถึงความสำเร็จของกิจกรรมครั้งนี้ที่ได้รับความสนใจจากนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ ที่สำคัญยังเป็นโอกาสที่นิสิตคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ได้เสริมสร้างประสบการณ์การทำงานอันมีค่าซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อนิสิตในอนาคต

ศ.ภญ.ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ

 

เทพพิทักษ์ เข็มลา นิสิตชั้นปีที่ 3 คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ประธานโครงการการแข่งขันตอบปัญหาวิชาการทางวิทยาศาสตร์การแพทย์และเภสัชกรรม ครั้งที่ 1 กล่าวถึงที่มาและวัตถุประสงค์ของการจัดการแข่งขันว่า เพื่อให้น้องๆ นักเรียนชั้นมัธยมปลายเล็งเห็นถึงความสำคัญของวิชาชีพเภสัชกรรมในการส่งเสริมสุขภาพ ตลอดจนป้องกันและรักษาโรค รวมถึงให้ผู้ที่เข้าร่วมการแข่งขันได้พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์จากการที่ได้นำบทเรียนที่ได้เรียนในชั้นมัธยมปลายมาประยุกต์ใช้ในโจทย์ปัญหาทางด้านวิชาการที่เกี่ยวโยงความรู้ทางการแพทย์และเภสัชกรรม  ตลอดจนกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ทักษะทางด้านวิชาการของน้องๆ ชั้นมัธยมปลายที่กำลังจะเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา และยังเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้น้องๆ ในการเข้าศึกษาต่อที่คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ

เทพพิทักษ์ เข็มลา

เทพพิทักษ์ เผยถึงจุดเด่นของโครงการการแข่งขันตอบปัญหาทางวิชาการในครั้งนี้ว่า นับเป็นที่แรกที่มีการแข่งขันความรู้ทางการแพทย์และเภสัชกรรมซึ่งเป็นสิ่งที่มีความเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกัน ผู้เข้าแข่งขันเป็นน้องๆ ที่เรียนอยู่ชั้น ม.4 – ม.6 ทั้งสายศิลป์ภาษา ศิลป์คำนวณ และสายวิทยาศาสตร์ การแข่งขันแบ่งเป็น 3 รอบ  ได้แก่ รอบคัดเลือก รอบรองชนะเลิศ และรอบชิงชนะเลิศ 

นอกจากการแข่งขันตอบปัญหาทางวิชาการแล้ว ยังมีกิจกรรมพิเศษ “Pharmazeed Talk and Tell” เป็นการ Talk Show โดยพี่ๆ นิสิตเก่าที่ทำหน้าที่เภสัชกรในส่วนงานต่างๆ แบ่งออกเป็น 4 session คือ session ที่ 1 เภสัชกรในโรงพยาบาล และคลินิก session ที่ 2 เภสัชกรที่ทำหน้าที่ QC (Quality control)   session ที่  3 เภสัชกรที่ดูแลเกี่ยวข้องกับงาน research หรือ critical  แสดงให้เห็นว่าวิชาชีพเภสัชกรไม่ได้อยู่แค่โรงพยาบาลหรือแค่ร้านยาอย่างเดียว  และ session ที่  4 การแนะนำเตรียมตัวสอบของกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) โดยนิสิตคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ที่สอบได้ที่ 1 ของคณะเภสัชศาสตร์ในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2563, 2564 และ 2565

 “ประสบการณ์ที่นิสิตได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมวิชาการครั้งนี้ เป็นการฝึกบูรณาการความรู้    ในการตั้งโจทย์คำถามสำหรับใช้ในการแข่งขันตอบปัญหาทางวิชาการ  นอกจากนี้ยังได้ฝึกการทำงานเกี่ยวกับการสื่อสาร และยังได้เรียนรู้การทำงานกับคนอื่นอีกด้วย”  ประธานโครงการฯ กล่าวถึงสิ่งที่นิสิตได้รับจากกิจกรรมครั้งนี้

รศ.ภก.ดร.ฉัตรชัย เชาว์ธรรม
อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ และรองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ

รศ.ภก.ดร.ฉัตรชัย เชาว์ธรรม อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ และรองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า การแข่งขันตอบปัญหาวิชาการทางวิทยาศาสตร์การแพทย์และเภสัชกรรม ครั้งที่ 1 เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นิสิตในคณะมีทักษะในการทำงานร่วมกัน ได้เรียนรู้กระบวนการคิด การวางแผน การทำงาน ซึ่งเป็นสิ่งที่หาไม่ได้จากห้องเรียน โดยทางคณะยังมีกิจกรรมเสริมเช่นนี้อีกหลายกิจกรรม ทำให้นิสิตได้ฝึกทักษะในการทำงาน ความรับผิดชอบ เพื่อเตรียมพร้อมเมื่อจบออกไปประกอบวิชาชีพในอนาคต

ผู้สนใจสามารถติดตามรับชมการแข่งขันตอบปัญหาวิชาการทางวิทยาศาสตร์การแพทย์และเภสัชกรรม ครั้งที่ 1 และผลการแข่งขันได้ที่  Facebook Fanpage : Pharmaligence Academic Competition : https://www.facebook.com/PAC.RxCU/

Instagram : pac.rxcu

จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด

คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า