รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
11 พฤศจิกายน 2565
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ
“วันรับปริญญา” เป็นช่วงเวลาที่น่าชื่นชมยินดีในความสำเร็จของบัณฑิตจากรั้วจามจุรีที่พากเพียรพยายามจนมีวันอันน่าภาคภูมิใจในวันนี้ ส่วนหนึ่งของบัณฑิตจุฬาฯ ที่เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรปีนี้ได้บอกเล่าความทรงจำประทับใจที่มีต่อจุฬาฯ และฝากข้อคิดการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยแก่นิสิตรุ่นน้อง
นรีกุล เกตุประภากร (ฟรัง) บัณฑิตคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เกียรตินิยมอันดับ 1 นักแสดงและ Youtuber ช่อง laohaiFrung เปิดเผยว่า รู้สึกดีใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของจุฬาฯ การเข้าเรียนที่จุฬาฯ เป็นความฝันตั้งแต่เด็ก ภูมิใจที่ได้เข้ามาเรียนและจบเป็นบัณฑิตจุฬาฯ หลักในการเรียนให้ประสบความสำเร็จจะตั้งใจเรียนเก็บเกี่ยวความรู้ในห้องเรียนให้มากที่สุด และในช่วงสอบก็จะกลับมาทบทวนเพิ่มเติม สำหรับการแบ่งเวลาเรียนกับการทำงานในวงการบันเทิง จะให้ความสำคัญกับการเรียนเป็นหลัก ส่วนงานในวงการบันเทิงจะรับในวันหยุดหรือช่วงที่มีเวลาว่าง ปัจจุบันฟรังอยู่ระหว่างเป็นแพทย์ใช้ทุน อนาคตวางแผนจะกลับมาศึกษาต่อที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ส่วนงานในวงการบันเทิงถ้ามีโอกาสก็อยากทำควบคู่ไปด้วยกัน
ตลอดระยะเวลาที่ศึกษาในจุฬาฯ ชอบสังคมจุฬาฯ ที่มีเพื่อนดี อาจารย์มีคุณภาพ สิ่งแวดล้อมดี ช่วงเวลาที่อยู่จุฬาฯ เป็นชีวิตที่มีความสุขมาก ฟรังฝากข้อคิดแก่นิสิตรุ่นน้องในเรื่องการเรียนและการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยว่า ช่วงเวลาในรั้วมหาวิทยาลัยผ่านไปเร็วมาก อยากให้เก็บเกี่ยวชีวิตในมหาวิทยาลัยให้เต็มที่ ทั้งเรื่องความรู้ ประสบการณ์การใช้ชีวิตต่างๆ รวมถึงเพื่อนๆ เพราะทุกอย่างมันเป็นรากฐานในการทำงาน ประสบการณ์จากมหาวิทยาลัยสามารถนำไปใช้ต่อยอดได้จริง
ศวรรยา ไพศาลพยัคฆ์ (นาน่า) บัณฑิตคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ หลักสูตรนานาชาติ นักแสดงช่อง one 31 กล่าวว่ารู้สึกดีใจและภูมิใจมากที่สำเร็จการศึกษา ที่ผ่านมาระหว่างเรียนก็ทำงานเป็นนักแสดงไปด้วย จึงต้องพยายามจัดการเวลาให้ดีที่สุด โดยแบ่งเวลาไม่ให้ชนกับการเรียน และรับผิดชอบเรื่องการเรียนไม่ให้ค้างคาไว้ นาน่าวางแผนอนาคตไว้ว่าจะทำงานในวงการบันเทิง ทั้งงานละคร และอาจจะทำงานเพลงซึ่งเป็นงานที่เธอรักทั้งคู่ ส่วนเรื่องการเรียนต่อถ้ามีโอกาสอยากเรียนคอร์สระยะสั้นเกี่ยวกับด้านศิลปะ
“ภูมิใจที่ได้เข้ามาเรียนที่จุฬาฯ ประทับใจจุฬาฯ ที่มีคอนเนคชั่นระหว่างรุ่นพี่รุ่นน้อง การทำงานในวงการมีพี่ๆ หลายคนจบจุฬาฯ เหมือนกัน เหมือนเป็นทีมเดียวกันทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง นอกจากเป็นนักแสดงแล้ว งานหลังกล้องก็เป็นงานที่สนุกมาก เพราะมีงานที่น่าสนใจให้ทำหลายอย่าง สำหรับน้องๆ นิสิตจุฬาฯ อยากบอกว่าชีวิตมหาวิทยาลัยเป็นชีวิตที่สนุกสนาน ขอให้เก็บเกี่ยวประสบการณ์เพื่อค้นหาตัวเองให้เต็มที่” นาน่า กล่าวทิ้งท้าย
ณัฐภัทร ชาญชัยสมบัติ (บูม) บัณฑิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ นักแสดงจากผลงานซีรีย์ “วิศวะสุดหล่อกับคุณหมอของผม” เผยว่ารู้สึกดีใจที่จบการศึกษาเป็นบัณฑิตจุฬาฯ ได้ผ่านการเรียนวิชาต่างๆ ที่มีความยากและเข้มข้น เมื่อจบมาแล้วจึงมีความภูมิใจมาก ที่ผ่านมาจะให้ความสำคัญกับเรื่องการเรียนเป็นอันดับแรก และวางแผนจัดการเวลาให้ดีทั้งเรื่องเรียนและเรื่องงาน ตลอดระยะเวลาที่ศึกษาในจุฬาฯ รู้สึกประทับใจมหาวิทยาลัยแห่งนี้เนื่องจากใช้ชีวิตอยู่ที่นี่ตั้งแต่เรียนที่โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม มัธยม จนเข้าศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ทำให้มีความผูกพันกับจุฬาฯ เป็นอย่างมาก
ณัฐภัทรได้ฝากข้อคิดแก่นิสิตรุ่นน้องในเรื่องการเรียนและการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยว่า เมื่อตั้งใจทำอะไรขอให้ตั้งใจทำให้เต็มที่ เราไม่อาจย้อนเวลากลับไปแก้ไขในสิ่งที่ทำลงไปได้ ถ้าเราทำอย่างเต็มที่แล้ว ไม่ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร เราก็จะไม่เสียใจในสิ่งที่ได้ลงมือทำ
จุฑามาศ อุดมเกียรติกูล บัณฑิตคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง เผยว่ารู้สึกดีใจและภูมิใจที่สำเร็จการศึกษาจากจุฬาฯ และวางเป้าหมายที่จะทำหน้าที่เป็นสัตวแพทย์ที่ดีเพื่อช่วยเหลือสัตว์ที่ป่วยตามที่ตั้งใจไว้ หลักในการเรียนให้ประสบความสำเร็จต้องมีการวางแผนอ่านหนังสือล่วงหน้า แบ่งเวลาในการอ่านหนังสือและการทำกิจกรรมให้เหมาะสม
จุฑามาศประทับใจจุฬาฯ ที่เป็นมหาวิทยาลัยที่ตอบโจทย์ในทุกด้าน ทั้งด้านวิชาการ กิจกรรมรวมถึงคณาจารย์ที่มากด้วยประสบการณ์และความรู้ที่ถ่ายทอดแก่นิสิต การใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยนั้นการแบ่งเวลาเป็นสิ่งสำคัญ นอกจากจะเรียนเป็นหลักแล้วก็ไม่ควรทิ้งกิจกรรม เพราะการทำกิจกรรมจะช่วยเติมเต็มชีวิตในมหาวิทยาลัยให้สนุกสนานและคุ้มค่ายิ่งขึ้น ได้รู้จักเพื่อนใหม่ๆ และมีประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับคนอื่น ปัจจุบันเธอทำหน้าที่เป็นสัตวแพทย์อินเทิร์นอยู่ที่โรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ อนาคตอยากเรียนต่อเฉพาะทางทางด้านอายุรศาสตร์สัตว์เลี้ยง
ณัฐวุฒิ จันทะลุน บัณฑิตคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ เกียรตินิยมอันดับ 1 ซึ่งคว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดสุนทรพจน์อุดมศึกษาเฉลิมพระเกียรติพระบรมราชจักรีวงศ์ ครั้งที่ 3 ประจำปี 2563 เผยถึงความรู้สึกที่ได้เป็นบัณฑิตจุฬาฯ ว่า รู้สึกดีใจที่สามารถทำตามความฝันของตนเองและครอบครัว หลักในการเรียนให้ประสบความสำเร็จอาศัยความตั้งใจเรียนในห้องเรียนทุกวิชา ก่อนสอบก็จะมีการทบทวนบทเรียนกับกลุ่มเพื่อนๆ ตลอดระยะเวลาที่ศึกษาอยู่ในจุฬาฯ ประทับใจความเข้มแข็งทางวิชาการของคณาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ให้นิสิต รวมถึงจุฬาฯ ยังมีแหล่งทรัพยากรที่ดีมาก มีกิจกรรมให้เลือกทำได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมด้านวิชาการ กิจกรรมค่ายอาสา สันทนาการต่างๆ
ณัฐวุฒิ อยากให้นิสิตใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยให้เต็มที่ ตั้งใจเรียนร่วมกับการทำกิจกรรมไปด้วย เพราะถ้าหากเรียนจบไปแล้วเราอาจไม่มีโอกาสกลับไปทำแบบนั้นได้แล้ว ช่วงชีวิตในจุฬาฯ ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่เราจะได้ค้นหาตัวเองว่าสิ่งที่เรียนมานำไปใช้ในอนาคตได้อย่างไร เหมือนเป็นการมองอนาคตไปด้วยขณะเรียน
ณัฐกฤตา อุ่นวงศ์ บัณฑิตคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ เกียรตินิยมอันดับ 2 เผยว่ารู้สึกดีใจและภูมิใจที่จบการศึกษาเป็นบัณฑิตจุฬาฯ การเรียนในคณะนิเทศศาสตร์ไม่ได้มุ่งที่การเรียนอย่างเดียว แต่มีการทำกิจกรรมกับเพื่อนๆ ควบคู่ไปด้วย โดยต้องแบ่งเวลาระหว่างการเรียนกับการทำกิจกรรมให้ดี ตลอดเวลาที่ใช้ชีวิตนิสิตจุฬาฯ ประทับใจคณาจารย์ในคณะที่ให้ความช่วยเหลือและให้คำปรึกษานิสิตเป็นอย่างดี รวมทั้งมีแหล่งทรัพยากรและเครื่องมือต่างๆ ที่อำนวยความสะดวกในด้านการเรียนของนิสิตเป็นอย่างมาก
“อยากให้น้องๆ ที่ยังศึกษาอยู่ในรั้วจามจุรีขอให้เต็มที่กับทุกอย่าง ทั้งการเรียนและการทำกิจกรรมเพราะชีวิตในมหาวิทยาลัยผ่านไปเร็วมาก” ณัฐกฤตา กล่าว
ปริณดา แจ้งสุข มหาบัณฑิต สาขาการจัดการแบรนด์และการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ กล่าวว่า เป็นความภาคภูมิใจของครอบครัว รวมทั้งตัวเองที่สามารถผ่านบททดสอบครั้งใหญ่ของชีวิตมาได้ หลักในการเรียนให้ประสบความสำเร็จอยู่ที่การใส่ใจในสิ่งที่เรียน อย่างเช่นเราเรียนการตลาด เราก็จะคอยสังเกตสิ่งรอบตัวแล้วเอามาเชื่อมโยงกับเรื่องที่เราได้เรียนไป ก็ทำให้เข้าใจเนื้อหาที่เรียนได้ดีขึ้น แล้วนำไปประยุกต์ใช้ได้ การเรียนในระดับบัณฑิตศึกษาในขณะที่ต้องทำงานไปด้วย ทำให้รู้สึกท้าทายมากในการแบ่งเวลา เพื่อให้ทั้งการเรียนและการทำงานไม่กระทบกัน ที่สำคัญต้องมีความรับผิดชอบที่สูงมาก ตลอดระยะเวลาที่ศึกษาในจุฬาฯ ประทับใจวิธีการสอนของคณาจารย์หลายท่าน ที่ให้ประสบการณ์ในการเรียนที่ดี
“การได้มาเรียนที่นี่ เหมือนเป็นแหล่งรวมคนที่เก่งในแต่ละด้านมาอยู่ด้วยกัน เราสามารถช่วยเหลือกันและกันได้ จึงเป็นโอกาสที่ดีมากๆ ที่เราจะได้แลกเปลี่ยนความรู้กับทั้งเพื่อนและอาจารย์” ปริณดา กล่าว
ญาดา วัฒนกิจยิ่งยง เภสัชศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาเภสัชอุตสาหกรรม กล่าวถึงความรู้สึกที่สำเร็จการศึกษาจากจุฬาฯ ว่ารู้สึกดีใจที่สามารถสานฝันทางการศึกษาได้สำเร็จ โดยจบการศึกษาทั้งปริญญาตรี โท และเอกจากคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ เธอใช้เวลากว่า 6 ปีครึ่งในการเรียนปริญญาเอกและทำวิทยานิพนธ์จนได้รับการตีพิมพ์ หลักในการเรียนให้ประสบความสำเร็จคืออดทน เนื่องจากการเรียนในระดับปริญญาเอกต้องทุ่มเทเวลาให้กับการทำแลปและทำงานวิจัยเป็นหลัก
ตลอดระยะเวลาที่ศึกษาในจุฬาฯ ญาดาประทับใจจุฬาฯ ที่มีคณาจารย์ให้ความรู้ทางด้านวิชาการ และมีเพื่อน ๆ ที่ให้ความช่วยเหลือกันเป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังได้ทักษะการเข้าสังคมและการใช้ชีวิต ในอนาคตเธอวางแผนจะนำความรู้ที่เรียนมาไปประยุกต์ใช้จริงในองค์กรที่เธอจะเริ่มงานใหม่ อยากให้น้องๆ นิสิตเรียนให้สำเร็จโดยไม่กดดัน เรียนเก่งหรือไม่เก่งไม่ใช่เรื่องสำคัญ ขอให้มีความอดทนซึ่งจะช่วยให้น้องๆ ผ่านอุปสรรคต่างๆ มาได้
รัชดา โชติพานิช ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขานาฏยศิลป์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งวิทยานิพนธ์ เรื่อง “พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการสร้างนาฏกรรม” ได้รับการยกย่องให้เป็นวิทยานิพนธ์ระดับดีมาก เปิดเผยว่า รู้สึกภาคภูมิใจที่ได้รับพระราชทานปริญญาบัตรเป็นดุษฎีบัณฑิต เป็นเกียรติแก่ครอบครัวและวงศ์ตระกูลอย่างยิ่ง นับเป็นรางวัลของชีวิต ที่ได้รับในฐานะที่เป็นชาวจุฬาฯ นับตั้งแต่จบปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพื้นฐานการศึกษาจาก จุฬาฯ เมื่อปี 2538 การศึกษาไม่มีคำว่าสายเกินไป ไม่ว่าอายุเท่าใดก็สามารถเรียนได้ ขอให้มีความตั้งใจและทุ่มเทอย่างจริงจัง
รัชดาเผยถึงหลักในการเรียนให้ประสบความสำเร็จว่า ต้องอาศัย “เวลา” ในการศึกษาค้นคว้าและเขียนวิทยานิพนธ์ วางแผนการทำงานให้ดี สามปีที่เรียนปริญญาเอก อ่านหนังสือทุกวันและต้องมีระบบจัดการข้อมูลที่ดีด้วย นอกจากนี้การ “ได้ทำในสิ่งที่รัก” ทำให้มีความตั้งใจ อดทนต่อความยากลำบากจนสามารถประสบความสำเร็จได้ในที่สุด ตลอดระยะเวลาที่ใช้ชีวิตในจุฬาฯ ประทับใจความเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บัณฑิตจุฬาฯ คือผู้ที่มีความรู้คู่คุณธรรม สำนึกในพระคุณของแหล่งเรียนมา ประทับใจคณาจารย์หลายท่านที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ รวมทั้งกัลยาณมิตรที่ให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
“การเรียนในจุฬาฯ ไม่ใช่ง่ายๆ กว่าจะสำเร็จการศึกษา ระหว่างทางอาจจะเหนื่อยและท้อถอยบ้าง ขอให้มีสติ สามารถขอคำแนะนำจากเพื่อนร่วมรุ่นที่มีช่วงอายุแตกต่างและมีประสบการณ์ที่หลากหลายได้ ที่สำคัญขอให้พบอาจารย์ที่ปรึกษาอย่างสม่ำเสมอ ใช้ชีวิตในระหว่างที่เป็นนิสิตให้คุ้มค่า ไม่ว่าไปอยู่ที่ไหนขอให้รักษาชื่อเสียงของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไว้ ดังพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ว่า “ชื่อมหาวิทยาลัยของท่าน คือ จุฬาลงกรณ์ จะติดตัวท่านไปด้วยเสมอ ไม่ว่าจะประพฤติดีหรือประพฤติชั่ว ทุกๆ ครั้งที่ท่านจะกระทำการ สิ่งใดลงไปจงคิดแล้วคิดอีก ทบทวนดูทั้งทางได้ทางเสียให้แน่ชัดเสียก่อน”
จารุวรรณ สุวรรณศาสน์ ดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม (สหสาขาวิชา) บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ (CUTIP) ผู้อำนวยการ MICE Intelligence and Innovation กล่าวว่า รู้สึกภาคภูมิใจในความพยายามที่บรรลุเป้าหมายในการเพิ่มองค์ความรู้ใหม่ที่สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงในสภาวการณ์ปัจจุบันที่บริบททางเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยเฉพาะหลักสูตรได้ออกแบบวิชาให้ตอบโจทย์ที่สามารถนำไปใช้ในการทำงานได้เป็นอย่างดี
การเรียนให้ประสบความสำเร็จนั้น สิ่งสำคัญอยู่ที่การวางแผนการเรียนอย่างมีกลยุทธ์เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามกรอบเวลาที่วางไว้ โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะแรกต้องมีการปรับ mindset ในการทำงานร่วมกันกับเพื่อนๆ ที่มาจากหลากหลายสาขาวิชา จากนั้นเป็นการประเมินความเข้าใจด้วยการสอบวัดคุณสมบัติ หรือ QE ที่จะต่อยอดองค์ความรู้สู่การคิดวิเคราะห์และการประยุกต์ใช้ในบริบทต่างๆ การแลกเปลี่ยนหรือการทำโจทย์ร่วมกับเพื่อน และระยะสุดท้ายเป็นระยะวัดใจของการเป็นดุษฎีบัณฑิต จะต้องตั้งสมมติฐานในสิ่งที่เราอยากรู้และเป็นการค้นพบใหม่ที่ดีกว่าเดิม เพื่อสามารถนำไปต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้
ประทับใจการเรียนที่จุฬาฯ ที่มีเพื่อนๆ เป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จในทุกระยะเวลาของการเรียน ทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในแบบ CUTIP ในยามที่ท้อแท้ในการเรียน เพื่อนก็จะช่วยเป็นกำลังใจให้ มิตรภาพของรุ่นคือสิ่งมีค่าเสมอ “อยากจะส่งกำลังใจให้น้องๆ นิสิตให้เดินตามเป้าหมายของการเรียนเพื่อสร้างสิ่งที่มีคุณค่าต่อสังคม และการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือแม้แต่การค้นคว้าสิ่งใหม่เพื่อพัฒนาประเทศด้วยนวัตกรรม การทำสิ่งที่มีคุณค่าย่อมแลกมาด้วยหยาดเหงื่อและน้ำตา นำมาซึ่งความภาคภูมิใจในสิ่งที่เราคิดและทำเพื่อสังคมมากกว่าตัวเอง ให้สมกับศักดิ์ศรีของการเป็นบัณฑิตจุฬาฯ” จารุวรรณ กล่าวในที่สุด
จักรพล จันทวิมล ดุษฎีบัณฑิตสาขาธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ (CUTIP) ผู้จัดการทั่วไป บริษัท นันยางมาร์เก็ตติ้ง จำกัด กล่าวว่า เป็นความภาคภูมิใจสูงสุดที่ได้มีโอกาสเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร ตนได้น้อมนำพระราโชวาทไปใช้ในชีวิตประจำวัน และทำประโยชน์ให้แก่สังคมและประเทศชาติ การเรียนระดับปริญญาเอกจำเป็นต้องวางแผนชีวิตอย่างมาก นอกจากการเรียนและการทำวิทยานิพนธ์แล้ว ยังต้องให้ความสำคัญกับการศึกษาโครงสร้างหลักสูตรอย่างชัดเจน แม่นยำ โดยบริหารเวลาให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
“ประทับใจจุฬาฯ ทั้งคณาจารย์ รุ่นพี่ เพื่อน และเจ้าหน้าที่ทุกๆคน ที่สำคัญที่สุดคือจุฬาฯ เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีความรู้ทางวิชาการเป็นที่ยอมรับในระดับโลก สามารถนำไปใช้ได้จริงนอกรั้วมหาวิทยาลัย ขอให้นิสิตใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยให้คุ้มค่าที่สุด เรียนรู้โลกที่เปลี่ยนไปเพื่อมาช่วยกันสร้างสังคมให้น่าอยู่ในอนาคต” จักรพล กล่าวในที่สุด
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
อธิการบดีจุฬาฯ ได้รับเลือกเป็นประธานสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASAIHL) ปี 2025-2026
นิสิตภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน CHOICEISYOURS 2024
จุฬาฯ เชิญชวนร่วมงาน “One Stop Open House 2024” โดยกระทรวง อว. ระหว่างวันที่ 27 พ.ย. – 1 ธ.ค. 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
เชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมด้านจิตวิทยา “BRIDGING DISCIPLINES: Incorporate Psychology into Your Endeavor”
8 ม.ค. 2568 เวลา 09.00 – 16.00 น.
ชั้น 6 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาฯ
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้