รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
23 พฤษภาคม 2561
ข่าวเด่น
ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเฉพาะโรงอาหารและตามชั้นต่างๆ ในสำนักงานมหาวิทยาลัย จะพบเห็นตู้กดน้ำสีชมพูหรือบางที่เป็นตู้กดน้ำสแตนเลสตั้งอยู่ ตู้กดน้ำเหล่านี้มักทำให้เกิดคำถามในใจของผู้ใช้ว่าสะอาดปลอดภัยจริงหรือไม่?
ลบภาพตู้กดน้ำดื่มสาธารณะที่มีการเจือปนของเชื้อโรคไปได้เลย เพราะโครงการ Chula Zero Waste ใส่ใจในการตรวจสอบคุณภาพน้ำ เพื่อให้มั่นใจว่าทุกคนจะได้ดื่มน้ำสะอาด สามารถนำแก้วน้ำ ขวดน้ำ หรือกระบอกน้ำส่วนตัวที่ใช้ซ้ำได้มารองรับน้ำดื่ม เป็นการช่วยลดขยะที่เกิดจากขวดพลาสติก นอกจากจะทำให้มหาวิทยาลัยสะอาดแล้ว ยังช่วยนิสิตและบุคลากรประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำดื่มเพื่อบริโภคในแต่ละวันอีกด้วย
ตู้กดน้ำดื่มสีชมพูของโครงการที่มีให้บริการมากกว่า 40 ตู้ รวมถึงตู้กดน้ำสแตนเลสดั้งเดิมอีก 30 ตู้ ทั่วทั้งมหาวิทยาลัย สะอาด ปลอดภัย มีการดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอ โดยมีบริษัทที่รับผิดชอบเข้ามาเปลี่ยนไส้กรองทุก 3 เดือนและมีทีมงานจากภาควิศวกรรมสิ่งแวดล้อมมาช่วยตรวจสอบคุณภาพน้ำดื่มทุก 6 เดือน
การตรวจวัดแบคทีเรีย โดยใช้ชุดทอดสอบโคลิฟอร์มและอีไคไลในน้ำและน้ำแข็ง(Test Kit Microbial “Compact Dry EC” for E.coli and Coliform) ที่ได้มาตรฐาน AOAC(PTM) : No.081001 และ Microval : No.2008-LR14 โดยการแปลผลหลังบ่มเชื้อเป็นเวลา 20 – 24 ชั่วโมงแล้ว หากมีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียจะปรากฏจุดสีให้เห็น
มาตรฐานน้ำดื่มของกระทรวงสาธารณสุขและกรมควบคุมมลพิษระบุว่า ต้องไม่พบอีโคไลแบคทีเรียในน้้า 100 มิลลิลิตร และโคลิฟอร์มแบคทีเรียต้องน้อยกว่า 2.2 ในน้ำ 100 มิลลิลิตร ซึ่งในการทดสอบนี้ใช้ตัวอย่าง 1 มิลลิลิตร ดังนั้นต้องไม่พบจุดสีฟ้าและสีม่วงแดงจึงผ่านเกณฑ์มาตรฐาน*
(*ที่มา : ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่135) พ.ศ.2534 และประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 332 (พ.ศ. 2521) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่องกำหนมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ำบริโภค ตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 95 ตอนที่ 68 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2521)
สำหรับโลหะหนักที่ทำการทดสอบในโครงการนี้ประกอบด้วย เหล็ก (Fe), แมงกานีส (Mn), คอปเปอร์ (Cu) และปรอท (Hg) ตรวจวัดด้วยเครื่อง Inductively Coupled Plasma – Optical Emission Plasma (ICP-OES) โดยมีมาตรฐานน้ำดื่มของกรมควบคุมมลพิษจากประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 332 (พ.ศ. 2521) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่องกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ำบริโภค เป็นตัวกำหนดค่าในการตรวจสอบคุณภาพน้ำดื่มทุกครั้ง
ผลสรุปจากการตรวจสอบคุณภาพตู้น้ำดื่มทั้ง 2 ชนิด (ตู้กดน้ำใหม่และตู้กดน้ำสแตนเลส) ในช่วงเดือนธันวาคม 2560 ที่ผ่านมาปรากฏว่าไม่พบการปนเปื้อนทั้งจากโคลิฟอร์ม ลีไคไล และโลหะหนัก รวมไปถึงการตรวจเช็คสภาพการใช้งานของตู้กดน้ำ เพื่อให้ทุกคนสามารถใช้ตู้กดน้ำได้ทุกจุดอย่างปลอดภัย
ทีนี้ก็มั่นใจได้ว่าตู้กดน้ำดื่มภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสะอาดปลอดภัย ไว้ใจได้อย่างแน่นอน อย่าลืมพกภาชนะส่วนตัวมาเติมน้ำดื่มสะอาดบริการฟรีได้ที่จุดให้บริการตู้กดน้ำทั่วทั้งมหาวิทยาลัย เพราะรักจึงจัดตู้กดน้ำให้ พกกระบอก(น้ำ) ลดขยะ มาเถอะมาช่วยกัน Together we can มั่นใจเราทำได้
อ้างอิงข้อมูลจากผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำดื่มพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครั้งที่ 2/2560 สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาฯ
คณะจิตวิทยา จุฬาฯ ร่วมกับ สสส. มอบรางวัลเชิดชู 11 องค์กรต้นแบบสร้างเสริมสุขภาวะทางจิต (Thai Mind Awards)
จุฬาฯ ร่วมกับคาร์เทียร์ ประเทศไทย จัดงานเปิดตัว “โครงการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม สำหรับ Cartier Women’s Initiative”
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ จัดกิจกรรม “ใส่บาตรหนังสือ ครั้งที่ 16 : อ่านเพื่อสติ” สานต่อศรัทธาผ่านการอ่าน สร้างปัญญา เสริมสิริมงคลรับปีใหม่
นิสิต BBA จุฬาฯ เยี่ยม! ทำคะแนนสอบ TCAS Inter 2024 ได้ที่ 1 ของประเทศ
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ เชิญร่วมงานเสวนา “โปรตุเกส…เหตุที่รัก”
นิสิตสาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดสีน้ำระดับอุดมศึกษา
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้