รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
15 พฤศจิกายน 2565
ข่าวเด่น
ผู้เขียน ชาติสยาม หม่อมแก้ว
งานเสวนาด้าน Logistics และ Supply Chain ที่บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ จัดขึ้น ผู้เชี่ยวชาญแนะผู้ประกอบการขนส่งสินค้าปรับตัว สร้างมูลค่าใหม่ๆ ให้ธุรกิจ เปลี่ยนลูกค้าให้เป็นเพื่อน เตือนสงครามหั่นราคา อาจทำให้ธุรกิจพังทั้งระบบ
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเสวนาออนไลน์ “CUGS Special Talks Ep. 7 เรื่อง “Beyond Digital Supply Chain in the New Normal” เมื่อวันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน 2565 ณ ห้องประชุม 702 อาคารจามจุรี 10 โดยมี รศ.ดร.ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ และ อ.พันตรี ดร.ราเชน มีศรี รองคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ เป็นผู้กล่าวเปิดเสวนา เนื้อหางานเสวนาเน้นประเด็นการบริหารจัดการและการปรับตัวของธุรกิจ Logistics & Supply Chain ในยุคดิจิทัลที่พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป (new normal) อันเป็นผลมาจากการระบาดของโรคโควิด-19
ผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด ผศ.ดร.เอกก์ ภทรธนกุล Chief Brand Officer จุฬาฯ หัวหน้าภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ และ รศ.ดร.มาโนช โลหเตปานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันการขนส่ง จุฬาฯ ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.ธารทัศน์ โมกขมรรคกุล ผู้อำนวยการหลักสูตรสหสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน และรองคณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ และ ศ.ดร.เนาวนิตย์ สงคราม รองคณบดีด้านวิชาการ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ
รศ.ดร.มาโนช โลหเตปานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันการขนส่ง จุฬาฯ กล่าวว่าในปัจจุบัน หลังจากมีมาตรการผ่อนคลายกิจการและกิจกรรมเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จะเห็นได้ว่ามีการกลับมาของอุปทานหรือความต้องการของผู้บริโภคเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางหรือการขนส่งสินค้า แต่ภาคธุรกิจยังคงขาดแคลนกำลังคนที่จะเข้ามาให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ ยกตัวอย่างเช่น จำนวนผู้โดยสารที่เดินทางเข้าประเทศจนแน่นท่าอากาศยาน หรือปัญหาการขนส่งที่ล่าช้าของผู้ให้บริการขนส่งพัสดุ ซึ่งเป็นสิ่งที่ท้าทายผู้ประกอบการธุรกิจ logistics และ supply chain เป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการเพิ่มขึ้นของความนิยมในการขนส่งแบบ last mile delivery การดูแลสิ่งแวดล้อม หรือ circular supply chain การที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และเทรนด์ของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว (digital transformation) ผู้ประกอบการควรพัฒนาศักยภาพด้านนี้เพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนและยืดหยุ่นการทำงานและการบริการให้ทันเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้น
“โจทย์ที่ท้าทายมากสำหรับผู้ประกอบการในปัจจุบัน คือเรื่องของการบริหารต้นทุน การเรียกราคาเพิ่มน่าจะทำได้ยาก มองในมุมของผู้ประกอบการ คงเป็นการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เหมาะสมมาปรับใช้ เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มคุณภาพการบริการที่ดีกว่าให้กับลูกค้า โดยที่ไม่ทำให้ค่าบริการต่าง ๆ สูงขึ้น” รศ.ดร.มาโนช กล่าว
เช่นเดียวกับ ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ที่กล่าวว่านับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่คาดเดาไม่ได้ สิ่งที่ธุรกิจ logistic ต้องเจอเหมือนๆ กันคือปัญหาที่ไม่เคยมีใครเคยเจอมาก่อน ทั้งการปรับเปลี่ยน การลดขนาด ปรับลดการทำงานในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาด ทำให้ปัจจุบันเริ่มมีอุปทานกลับเข้ามา รวมเข้ากับการซื้อขายออนไลน์ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ภาคธุรกิจจึงประสบปัญหาขาดแคลนกำลังคนทำงานในภาคขนส่งโลจิสติกส์ ประกอบกับการที่ลูกค้ามีกำลังซื้อลดลง จึงทำให้เกิดการแข่งขันด้านราคาหรือที่เรียกว่า price war ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อธุรกิจในภาพรวม
“สิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้ต่อไป คือการทำธุรกรรมต่าง ๆ จะอยู่บนออนไลน์มากขึ้น การแข่งขันก็เพิ่มมากขึ้นมหาศาล สิ่งที่ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ได้เห็นคือความต้องการด้านการขนส่งในหลายรูปแบบ ซึ่งเราต้องเตรียมรับมือ เช่น การขนส่งโดยร่วมมือกับ co- chain ต่าง ๆ เป็นต้น รวมทั้งความสามารถในการหา specialty หรือความสามารถเฉพาะในการขนส่ง ยกตัวอย่าง เช่น การขนส่งต้นไม้ ผลไม้ ที่แต่ละชนิด ก็ต้องการการขนส่งที่แตกต่างกัน เพื่อสร้างมูลค่าหรือ value ให้กับธุรกิจ และทำให้เราไม่ต้องไปอยู่ในเกมของการทำสงครามราคา”
ด้าน ผศ.ดร.เอกก์ ภทรธนกุล Chief Brand Officer จุฬาฯ หัวหน้าภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ กล่าวว่า หากโควิดกลายพันธุ์ได้ ผู้บริโภคก็กลายพันธุ์ไปด้วย ในทางการตลาดเกิดหัวข้อใหม่ที่น่าสนใจเรียกว่า customer mutation ซึ่งเป็น new normal ด้านพฤติกรรมผู้บริโภคในระยะสั้นที่จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจ logistics และ supply chain ประกอบด้วย 4 พฤติกรรม ได้แก่
“เมื่อไหร่ก็ตามที่เล่นกับราคา หรือเกิดสงครามราคาขึ้นมา สงครามแปลว่าเจ็บทุกคน ในฐานะนักวิชาการต้องสะกิดใจคนในอุตสาหกรรมว่าเขาไม่เล่นกัน ต้องคิดให้มากในเรื่องของราคา ท่านลดได้ รายอื่นก็ลดได้ สุดท้ายคือเจ็บทุกคน เมื่อลูกค้าไม่ซื้อ premium ท่านต้องไปลดต้นทุนที่ไม่ควรจะมีลง อย่าให้ในสิ่งที่ลูกค้าไม่ต้องการและไม่พร้อมจ่าย”
ผศ.ดร.เอกก์ กล่าวต่อว่า ในปีหน้าจะมีการประกาศ Marketing 6.0 หรือ Meta Marketing ที่หมายถึงการตลาดใน metaverse บริษัทขนส่งต่าง ๆ จะต้องจะทำการบ้านเพื่อปรับตัวว่าจะเข้าไปทำการตลาดหรือให้บริการในโลก metaverse ได้อย่างไร หากคิดไม่ทันโอกาสอาจจะน้อยกว่าคู่แข่ง เพราะทำธุรกิจอยู่ในโลกเดียว นอกจากนี้ยังแนะให้ผู้ประกอบการพิจารณาเรื่องของ customization ซึ่งหมายถึงการที่ผู้ประกอบการเปลี่ยนลูกค้าให้เป็นเพื่อน หรือจาก customer ให้เป็น friendsumer สำหรับเวลาที่ผู้ประกอบการผิดพลาด ลูกค้าจะยังคงเข้าอกเข้าใจ รวมทั้งใช้มุมมองของ demand chian ให้มากกว่า supply chain คือรู้ว่าลูกค้าต้องการอะไรเป็นหลัก เพื่อปรับตัวให้ทันกับการแข่งขันและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงในปัจจุบัน
ผู้สนใจสามารถรับชมการเสวนา “CUGS Special Talks Ep. 7 เรื่อง “Beyond Digital Supply Chain in the New Normal” ย้อนหลังได้ที่ https://www.facebook.com/gradschoolchula และ YouTube: https://www.youtube.com/gradchula หรือ https://www.facebook.com/ChulalongkornUniversity
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Spark the Local 2024 by PTT
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้