รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
22 พฤศจิกายน 2565
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ, งานวิจัยและนวัตกรรม
ผู้เขียน สุรเดช พันธุ์ลี
รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และ ศ.นพ.รังสรรค์ ฤกษ์นิมิตร ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมทางการแพทย์และการประกอบการ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัว “ศูนย์นวัตกรรมทางการแพทย์และการประกอบการ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ” (Chula Medical Innovation and Entrepreneurship Center: CMICe) ในการนี้ ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ ได้ร่วมเป็นเกียรติในงานครั้งนี้ด้วย เมื่อวันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน 2565 ณ โถงอาคารรัตนวิทยาพัฒน์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
ในงานมีการจัดเสวนาหัวข้อ “Innovation Development: From Idea to Prize and Price” และหัวข้อ “Academic Transformation; From Research to Entrepreneurship” โดยมีคุณศักดิ์ชัย บัวมูล ที่ปรึกษาประจำสำนักประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ คุณภูมิชัย ตรัยดลานนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ซีพี โซเชียล อิมแพคท์ จำกัด คุณพรหมพร สิ้นโศรก ผู้จัดการฝ่ายอาวุโส ตลาดธุรกิจปิโตรเคมี บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) คุณอุฬาร อภิรูปากร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เพ็นต้า อิมเพ็กซ์ จำกัด นพ.เก่งพงศ์ ตั้งอรุณสันติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลผู้สูงอายุเฌ้อสเซอรี่โฮม ร่วมในการเสวนาดังกล่าว
นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมแสดงผลงานและจำหน่ายผลิตภัณฑ์นวัตกรรมทางการแพทย์ Medical Innovation for Society Booth โดยทีมนวัตกรเพื่อสังคมแห่งอนาคต
รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้พลิกโฉมสู่มหาวิทยาลัยที่เน้นนวัตกรรมสร้างสรรค์สังคม “Innovations for Society” เมื่อสังคมมีปัญหา จุฬาฯ มีคำตอบ ซึ่งสอดคล้องกับหนึ่งในพันธกิจสำคัญของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ คือ การสร้างงานวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์ที่มีคุณค่าต่อสังคม แต่คุณค่าจะเกิดขึ้นได้นั้นต่อเมื่อผลงานได้ถูกนำไปใช้จริงและก่อให้เกิดประโยชน์ ในปัจจุบันนวัตกรรมทางการแพทย์มีความสำคัญมากในการต่อยอดเพื่อรักษาผู้ป่วย ทางคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จึงมุ่งผลักดันนวัตกรในการสร้างสรรค์ต่อยอดผลงานวิจัยให้เป็นผลิตภัณฑ์นวัตกรรม “จากหิ้งสู่ห้าง” นำไปใช้ประโยชน์ต่อสังคมและเชิงพาณิชย์ต่อไป
ศ.นพ.รังสรรค์ ฤกษ์นิมิตร ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมทางการแพทย์และการประกอบการ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า ศูนย์นวัตกรรมทางการแพทย์และการประกอบการ จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม 2564 มีเป้าหมายสำคัญคือการเป็นองค์กรชั้นนำด้านการประกอบการนวัตกรรมทางการแพทย์ระดับประเทศและนานาชาติ ยกระดับนวัตกรรมทางการแพทย์ที่ได้รับการพัฒนาจากบุคลากรของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ให้เป็นที่ยอมรับ สร้างมูลค่าและผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจ เพื่อสุขภาพที่ดีของทุกคน นอกจากนี้ยังส่งเสริม ผลักดันการพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมแบบบูรณาการ เพื่อให้ได้นวัตกรรมผลิตภัณฑ์หรือการบริการทางการแพทย์ ที่ตรงตามความต้องการของผู้ประดิษฐ์และตอบโจทย์ต่อผู้บริโภค โดยความร่วมมือและการสนับสนุนทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ
ในด้านผลงานผลิตภัณฑ์นวัตกรรมทางการแพทย์ของศูนย์นวัตกรรมทางการแพทย์และการประกอบการ มีผลงานที่นำไปใช้ต่อผู้ป่วยได้จริงแล้ว เช่น หมอนพักพิง (PAKPING) หมอนช่วยลดอาการกรดไหลย้อนขณะนอน ออกแบบรองรับสรีระของผู้ใช้ เพื่อคุณภาพการนอนที่ดีขึ้น และ อาหารเสริมต้านนิ่วในปัสสาวะ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมในรูปของสารละลายเข้มข้นบรรจุซอง โดยผลิตภัณฑ์อาหารเสริมนี้จะมีปริมาณซิเทรทสูง เพื่อเพิ่มปริมาณการขับออกของซิเทรทในปัสสาวะ และช่วยทำให้ปัสสาวะเป็นด่างมากขึ้น สารต้านอนุมูลอิสระ Alpha-lipoic acid (ALA) และสารต้านอนุมูลอิสระกลุ่มโพลีฟีนอลจากสมุนไพรธรรมชาติ ได้แก่ น้ำต้นแกนกล้วย อัญชัน และฝาง เพื่อลดภาวะเครียดจากออกซิเดชัน ในผู้ป่วย อีกทั้งทำให้ผู้ป่วยได้รับน้ำมากขึ้น เพื่อเพิ่มปริมาตรปัสสาวะ เป็นต้น
“ทิศทางในอนาคตของศูนย์นวัตกรรมทางการแพทย์และการประกอบการนั้น มีความตั้งใจในการพัฒนาองค์ความรู้ให้ครอบคลุมทุกสหสาขาวิชาทางการแพทย์ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการ เปลี่ยนความสุขจากความสำเร็จให้เป็นรายได้นำไปสร้างมูลค่า เพิ่มศาสตร์งานด้านธุรกิจให้แก่ประเทศต่อไป” ศ.นพ.รังสรรค์ ฤกษ์นิมิตร กล่าว
ผู้ที่สนใจปรึกษาเกี่ยวกับนวัตกรรมทางการแพทย์ ของศูนย์นวัตกรรมทางการแพทย์และการประกอบการ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ สามารถติดต่อได้ที่ โทร. 09-2480-8907 หรืออีเมล cmic.chula@gmail.com
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ จัดกิจกรรม “ใส่บาตรหนังสือ ครั้งที่ 16 : อ่านเพื่อสติ” สานต่อศรัทธาผ่านการอ่าน สร้างปัญญา เสริมสิริมงคลรับปีใหม่
นิสิต BBA จุฬาฯ เยี่ยม! ทำคะแนนสอบ TCAS Inter 2024 ได้ที่ 1 ของประเทศ
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ เชิญร่วมงานเสวนา “โปรตุเกส…เหตุที่รัก”
นิสิตสาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดสีน้ำระดับอุดมศึกษา
คณะทันตแพทย์ จุฬาฯ ชวนช็อป ดีมีคืน กับ Chula Dent ในโครงการ Easy E-Receipt 2.0
ขอเชิญชาวจุฬาฯ ประกวดคลิปวิดีโอสร้างสรรค์ “Chula Ethics: Our Code, Our Way: วิถีเรา ตัวตนเรา”
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้