รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
24 พฤศจิกายน 2565
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ผู้เขียน นิธิกานต์ ปภรภัฒ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดเสวนาวิชาการ Chula the Impact ครั้งที่ 11 เรื่อง “กาชาด-จุฬาฯ บรรเทาทุกข์ บำรุงสุข สังคมไทย” โดยมี ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ เป็นผู้กล่าวเปิดงาน เมื่อเร็วๆ นี้ ณ ห้อง 111 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ เพื่อเชิญชวนประชาชนร่วมบริจาคเงินเพื่อสภากาชาดไทย สนับสนุนสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ ในโครงการ “จุฬาฯ ช่วยกาชาด 1,000 บาท 1 ถุงยังชีพ เพื่อผู้ประสบภัย” สนับสนุนสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทยเนื่องในโอกาสพิเศษที่จะมีการจัดงานกาชาด ประจำปี 2565 “9 ทศวรรษ ใต้ร่มพระบารมี สดุดีสภานายิกาสภากาชาดไทย” เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สภานายิกาสภากาชาดไทย เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา และทรงดำรงตำแหน่งองค์สภานายิกาสภากาชาดไทยครบ 66 ปี
พล.ท.นพ.อำนาจ บาลี ผู้อำนวยการสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย กล่าวว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและสภากาชาดไทย ถือว่ามีต้นกำเนิดเดียวกันจาก พระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยสภากาชาดไทยจะครบรอบ 130 ปีแห่งการก่อตั้ง การดำเนินงานที่ผ่านมาของสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย มุ่งให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชน เมื่อประชาชน มีทุกข์ที่ไหน เราไปที่นั่น ไม่ว่าสาธารณภัยนั้นจะเกิดจากมนุษย์หรือภัยพิบัติจากธรรมชาติ สำนักงานบรรเทาทุกข์ฯ มีภารกิจในการดูแลเตรียม “สิ่งของ” และต้องเตรียม “คน” ให้มีการ “เตรียมพร้อม” อยู่เสมอ พร้อมทั้ง “เตรียมประชาชน” ให้พร้อมรับมือต่อภัยพิบัติในสถานการณ์ต่างๆ ตลอดทั้งปี
“เราได้นำสิ่งของภายใน “ถุงธารน้ำใจ” ซึ่งเป็นถุงยังชีพที่พี่น้องประชาชนบริจาคให้กาชาด นำไปส่งให้พี่น้องประชาชนที่เดือดร้อน ประกอบด้วย ข้าวสาร 5 กิโลกรัม ข้าวกระป๋องพร้อมทาน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 30 ซอง น้ำพริก ปลากระป๋อง เทียนไข ไฟฉาย ไฟแช็ก ถุงขยะ เกลือไอโอดีน และน้ำดื่ม 1 โหล น้ำหนักโดยรวมประมาณ 15 กิโลกรัมต่อ 1 ถุง หากอยู่เป็นครอบครัว 4-5 คนสามารถใช้ได้ได้นานถึง 1 สัปดาห์ เมื่อประชาชนต้องการสิ่งใด สำนักงานบรรเทาทุกข์ฯ จะประเมินความเหมาะสมในสถานการณ์นั้นๆ และนำสิ่งของไปให้ตามที่ต้องการ” พล.ท.นพ.อำนาจ กล่าว
พล.ท.นพ.อำนาจ กล่าวต่อไปว่า สภากาชาดไทยมีสถานีกาชาด 14 แห่งทั่วประเทศ ทำหน้าที่ดูแลคุณภาพชีวิตและสุขอนามัยภายในชุมชนต่างๆ เป็นการเสริมการทำงานจากภาครัฐ เพราะพื้นที่ในการดูแลจัดการกว้างขวางมาก กรณีน้ำท่วมจากพายุโนรู ในปี 2565 ซึ่งครอบคลุม 50 จังหวัด สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทยได้ลงพื้นที่เข้าไปช่วยเหลือทันที และยังมีเหล่ากาชาดจังหวัด และหน่วยบริการเคลื่อนที่ของราชการลงพื้นที่นำถุงยังชีพ “ธารน้ำใจ” ไปช่วยเหลือพี่น้องประชาชนเป็นจำนวนกว่า 206,000 ถุง นอกจากนี้สำนักงานบรรเทาทุกข์ฯ ได้ส่งรถระนาบสูงและเรือท้องแบนไปรับส่งเพื่อการสัญจร รวมถึงการผลิตน้ำดื่มแจกจ่ายให้พี่น้องประชาชน ซึ่งเจ้าหน้าที่ของเราทำงานหลากหลาย ในทุกสถานการณ์ ไม่ว่าจะเป็นขับรถ ขับเรือ ทำอาหาร เป็นผู้ช่วยแพทย์ และคอยติดต่อประสานงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ในช่วงเวลาที่ไม่มีสาธารณภัย สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย ได้เตรียมพร้อมด้านกำลัง “คน” ให้มีความรู้และฝึกฝนพอเพียงเพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในด้านต่างๆ และสุดท้ายคือการเตรียม “ชุมชน” ให้พร้อมรับภัยพิบัติ เพื่อลดการสูญเสียทั้งทรัพย์สินและชีวิต โดยยึดหลักการกาชาด 7 ประการ ได้แก่ มนุษยธรรม (Humanity) การไม่เลือกปฏิบัติ (Impartiality) ความเป็นกลาง (Neutrality) ความเป็นอิสระ (Independence) บริการด้วยจิตอาสา (Voluntary Service) ความเป็นเอกภาพ (Unity) ความเป็นสากล (Universality)
“เราทำงานตรงนี้เพื่อสร้างความประทับใจให้พี่น้องประชาชนอบอุ่นใจ และเข้าใจในการทำงานของสภากาชาดไทย ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่จะต้องนึกถึงตราสัญลักษณ์กาชาดที่อยู่ติดตัวเจ้าหน้าที่ทุกคน ดังนั้นจะเห็นเจ้าหน้าที่ของเราทักทาย ยิ้มให้ ไหว้สวย และบรรเทาทุกข์ ทำให้ทุกคนมีความสุข” พล.ท.นพ.อำนาจ กล่าวในที่สุด
คุณชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ ประธานคณะกรรมการดำเนินงานจัดหารายได้กาชาด-จุฬาฯ กล่าวถึงประสบการณ์จากการที่ได้ลงไปคลุกคลีทำงานในพื้นที่จริงและได้พบผู้ประสบภัย ของสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย เช่น เหตุการณ์สึนามิ เมื่อปี 2547 ทุกธารน้ำใจทุกความร่วมมือหลั่งไหลมาที่สภากาชาดไทย ทำให้ต้องใช้เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครจำนวนมาก ปัจจุบันสำนักงานบรรเทาทุกข์ได้มีการวางแผนเตรียมความพร้อมและเสริมความยืดหยุ่น เพื่อสร้างความคล่องตัว มีทั้งถุงยังชีพที่เป็นมาตรฐานและถุงยังชีพที่เหมาะสมต่อสภาวะต่างๆ โดยในสถานการณ์การระบาดโรคโควิด-19 ได้มีการส่งมอบ “ถุงธารน้ำใจ” เป็นถุงยังชีพลงไปในพื้นที่ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากสำนักงานเหล่ากาชาดที่ประจำอยู่ในทุกจังหวัดของประเทศ โดยสำนักงานบรรเทาทุกข์ฯ ได้ประสานงานในการให้การช่วยเหลือของอาสาสมัครสาธารณสุขที่เข้าไปดูแลและให้ความรู้ความเข้าใจกับประชาชน
คุณชัยวัฒน์กล่าวเพิ่มเติมว่าสำนักงานบรรเทาทุกข์ฯ มีอีกหน้าที่หนึ่งในการจัดตั้งโรงครัวพระราชทาน ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีที่ทรงมอบหมายให้มีการทำอาหารแจกจ่ายให้กับประชาชนที่ประสบความเดือดร้อนจากการเจ็บไข้ได้ป่วย ขาดแคลนเครื่องอุปโภคบริโภคและจากภาวะเศรษฐกิจ
“การช่วยเหลือเป็นการ “ให้” อีกรูปแบบหนึ่งที่ไม่สิ้นสุด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นส่วนหนึ่ง ในการสนับสนุนหาทุนให้กับหน่วยงานของสภากาชาดไทยไว้ใช้ทั้งในสถานการณ์ที่มีผู้ประสบภัย และในกรณีที่ยังไม่มีภัยต่างๆ เพื่อดูแลด้านสุขอนามัย ทำให้การขับเคลื่อนกิจกรรมของสภากาชาดไทยในจังหวัดต่างๆ เป็นไปอย่างราบรื่น สำหรับภาคธุรกิจเอกชนและประชาชนทั่วไปที่ต้องการบริจาคเพื่อระดมทุนให้กับสภากาชาดไทยเนื่องในโอกาสงานกาชาดปี 2565 จะเป็นการรวมพลังเพื่อสร้างประโยชน์สุขอันมหาศาล เพื่อบรรเทาทุกข์บำรุงสุขให้กับประชาชนในสังคม” คุณชัยวัฒน์กล่าว
คุณภูศิลป์ วารินรักษ์ (เต๋า ภูศิลป์ นักแสดง-นักร้องเพลงลูกทุ่งชื่อดัง) อดีตกุลบุตรกาชาด และมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทางวัฒนธรรม จุฬาฯ กล่าวว่าทั้งสภากาชาดไทยและจุฬาฯ ได้ระดมความช่วยเหลือพี่น้องประชาชนเมื่อเกิดสาธารณภัยต่างๆ เต๋า ภูศิลป์เป็นคนอำเภอวารินชำราบ จ.อุบลราชธานี จากเหตุการณ์น้ำท่วมในปีนี้ทำให้ทางสัญจรหลักถูกตัดขาดไป สิ่งที่เชื่อมโยงพี่น้องประชาชนอำเภอเมืองและอำเภอวารินชำราบได้เดินทางสัญจรไปมาก็คือการได้เห็นรถบรรทุกที่ติดสัญลักษณ์จากสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทยที่มาให้ความช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ทำให้ชาวอุบลราชธานีมีความรู้สึกว่าไม่ได้สู้เพียงลำพัง เมื่อได้เห็นสัญลักษณ์ของ “สภากาชาดไทย” ก็รู้สึกอุ่นใจและชุ่มชื้นหัวใจอย่างบอกไม่ถูก
“ผมลงไปในพื้นที่ ได้พบผู้ประสบภัย และตัวผมเองก็เคยเป็นผู้ประสบอุทกภัยซึ่งหมู่บ้านหรือพื้นที่ได้รับผลกระทบจากการที่ไฟฟ้าโดนตัด ทำให้ไม่มีทั้งน้ำและไฟฟ้า สิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งคือ “ถุงยังชีพ” บางคนเจอเครื่องหมายกาชาด ได้รับถุงธารน้ำใจ ทำให้พี่น้องที่ประสบภัยรู้สึกว่าเขาไม่ได้ถูกทอดทิ้ง” เต๋า ภูศิลป์ เผยถึงประสบการณ์ที่ผ่านมาจากการทำหน้าที่กุลบุตรกาชาด
ถุงยังชีพ “ธารน้ำใจ” ไม่ใช่เรื่องของอุทกภัยเท่านั้น บทบาทที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ถุงยังชีพได้ช่วยเหลือประชาชนเป็นอย่างมาก “กล่องยา” ที่ผู้ป่วยได้รับในภาวะที่โรงพยาบาลไม่พอเพียง และผู้ป่วยต้องเข้าสู่ระบบการกักตัว (Home Isolation) ทุกวันจะมีพยาบาลค่อยเช็คอาการตลอด ไม่ได้เลือกว่าผู้ป่วยจะเป็นใคร แต่ทำให้กับทุกๆ คน ให้การดูแลอย่างรวดเร็วและสม่ำเสมอ ทำให้ประชาชนรู้สึกอุ่นใจเป็นอย่างมากที่ได้อยู่ในการดูแลของสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย
ผศ.ดร.เอกก์ ภทรธนกุล Chief Brand Officer จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หัวหน้าภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ผู้ดำเนินรายการเสวนา กล่าวว่า “การทำบุญที่พิเศษและมีคุณค่ามาก คือการทำบุญที่เราไม่ได้เลือกผู้รับ” งานกาชาดปีนี้แม้จุฬาฯ จะไม่มีการจำหน่ายสลากกาชาดดังเช่นที่ผ่านมา แต่ทุกท่านยังมีส่วนร่วมบำรุงกาชาดได้เช่นเดิม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขอเชิญทุกท่านมาร่วมด้วยช่วยกันสร้างบุญใหญ่แห่งธารน้ำใจที่จะไหลมาร่วมกันเพื่อประโยชน์ของสังคม โดยร่วมบริจาคเงินสนับสนุนสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย ในโครงการ “จุฬาฯ ช่วยกาชาด 1,000 บาท 1 ถุงยังชีพ เพื่อผู้ประสบภัย” สามารถบริจาคได้ตั้งแต่บัดนี้ – 25 ธันวาคม 2565 ผ่าน 3 ขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้
(1) โอนเงินบัญชี SCB “เงินกาชาด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เลขที่บัญชี 045-226703-8
(2) หากบริจาค 1,000 บาทขึ้นไปกรอกแบบฟอร์มในลิงค์ https://form.jotform.com/222712879943467
(3) รอรับใบเสร็จส่งถึงบ้านและได้หักลดหย่อนภาษี 2 เท่า
ผู้ที่บริจาคจำนวน 50,000 บาทขึ้นไป จะได้รับพระบรมรูปรัชกาลที่ 5 เนื้อโลหะ ขนาดสูง 69 ซม. จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอีกด้วย
จุฬาฯ ได้รับเลือกเป็น 1 ใน 12 เครือข่ายพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคมแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยกระดับขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พันธกิจสัมพันธ์เพื่อสังคมของจุฬาฯ
นิสิตเก่าศศินทร์ พลิกโฉมธุรกิจรับสร้างบ้าน เน้นนวัตกรรมเพื่ออยู่อาศัยอย่างยั่งยืน”
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกาศเจตนารมณ์ “No Gift Policy” มุ่งเสริมธรรมาภิบาล ต่อต้านการทุจริต
จุฬาฯ จับมือ ม.มหิดล “Together for Sustainable Tomorrow” ลงนามความร่วมมือทางวิชาการและจัดกิจกรรมเพื่อความยั่งยืน
สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน จุฬาฯ ชวนร่วม โครงการ “Interactive Training and Gaming Simulation for Green Transition”
จุฬา และ สสว.ลงนามความร่วมมือทางวิชาการภายใต้โครงการ “One Click”นำ AI ยกระดับ SMEs เข้าถึงสินเชื่อสีเขียวในคลิกเดียว
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้