รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
28 พฤษภาคม 2561
ข่าวเด่น
ในสมัยหนึ่ง “บุหรี่” มีบทบาทในการรักษาโรคและสูบเพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของชาวตะวันตกโบราณ ต่อมากลายเป็นกระแสสูบเพื่อความโก้เก๋และบ่งบอกถึงสถานะทางสังคม บัดนี้โลกหมุนเวียนเปลี่ยนไปมีการพัฒนามากขึ้น วิถีชีวิตก็เปลี่ยน บุหรี่ได้รับการพัฒนาเช่นกัน แต่แตกต่างกับอดีตตรงที่เราไม่สูบบุหรี่เพื่อรักษาโรคหรือเพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ไม่มีความโก้เก๋ เป็นแค่เพียงการสูบเพื่อความบันเทิงซึ่งเป็นการปล่อยควันพิษทำลายปอดของตนเองและผู้อื่น อีกทั้งเป็นการสร้างขยะทำลายโลกในทางอ้อมอีกด้วย
นอกจากควันที่มาจากมวนบุหรี่จะอันตรายต่อมนุษย์แล้ว ก้นบุหรี่ชิ้นเล็กๆ ก็ยังสามารถนำโรคร้ายกลับมาทำร้ายสิ่งแวดล้อมซ้ำแล้วซ้ำอีก เนื่องจากส่วนประกอบของก้นบุหรี่นั้นอันตรายไม่ต่างจากควัน เพราะก้นบุหรี่ประกอบไปด้วยกระดาษ ใยสังเคราะห์ที่ใช้เป็นไส้กรอง และเศษยาสูบที่มีส่วนประกอบจากสารท็อกซิน (Toxin) นิโคติน (Nicotine ) สารหนู ยาฆ่าแมลง นิโคตินเหล็ก สารก่อมะเร็งอีกกว่า 60 ชนิดและเอทิลฟีนอล (Ethyl phenol) ที่สามารถทำให้น้ำเกลือและน้ำสะอาดมีพิษได้
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแซนดีเอโกในสหรัฐอเมริกา พบขยะจากก้นบุหรี่มากกว่า 4.5 ล้านล้านชิ้นต่อปี อยู่ตามท้องถนน ท่อระบายน้ำ บริเวณชายทะเลและชายหาด ซึ่งเมื่อสารพิษในก้นบุหรี่ละลายลงสู่แหล่งน้ำ จะทำให้น้ำบริเวณดังกล่าวปนเปื้อนและสะสมพิษ มีผลโดยตรงต่อจุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตน้อยใหญ่อย่างกุ้ง หอย ปู ปลา และสิ่งที่เลวร้ายที่สุดคือการปนเปื้อนลงในแหล่งน้ำอุปโภคบริโภค ซึ่งทำให้ร่างกายของเราสะสมสารเหล่านี้เป็นระยะเวลานาน เพียงพอที่จะทำให้ทุกคนมีเชื้อมะเร็งอยู่ในร่างกาย
เมื่อก้นบุหรี่ถูกทิ้งลงบนพื้นดิน จะทำให้ดินปนเปื้อนและสะสมสารพิษเหล่านี้ได้เช่นกัน เพราะมีสารโพลีอะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน หรือ พีเอเอช (PAHs) เป็นสารที่เกิดจากการเผาไม่ที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งสารนี้จะยึดเกาะอยู่ในดินและสะสม ในสิ่งมีชีวิต อีกทั้งก้นบุหรี่ยังทำมาจากเซลลูโลสอะซิเตท เป็นพลาสติกชนิดหนึ่งที่มีระยะเวลาย่อยสลายนาน 10 – 15 ปี ซึ่งหมายความว่าดินบริเวณที่มีก้นบุหรี่ถูกทิ้งมีแนวโน้มว่าจะมีสารปนเปื้อนอยู่ในดินนานหลายปี
อีกหนึ่งความร้ายกาจขึ้นชื่อของบุหรี่คือการทำให้อากาศเป็นพิษ โดยควันบุหรี่ประกอบด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซมีเทน ซึ่งบนโลกใบนี้มีสิงห์อมควันทั่วโลกราว 13,000 ล้านคน สามารถคำนวณค่าการสร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 2.6 ล้านตันต่อปี และสร้างก๊าซมีเทนอีก 5.2 ล้านตันต่อปี ยังไม่รวมผลเสียที่เกิดจากประกายไฟเล็กๆ จากก้นบุหรี่ ก็สามารถทำให้ป่าหายไปได้มากกว่าครึ่ง! เพราะบุหรี่เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ไฟไหม้ป่ามากที่สุด อีกทั้งกระบวนการการผลิตยาสูบต้องใช้ฟืนจำนวนมากในการบ่มใบยาสูบ จึงทำให้เราสูญเสียป่าไปอีกหลายล้านไร่ นอกจากจะทำให้ปอดคนหายแล้วก็ยังทำลายปอดของโลกอีกด้วย
“บุหรี่” นอกจากจะไม่เป็นมิตรกับมนุษย์แล้ว ก็ยังไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วย ยังมีสิ่งให้ความบันเทิงและวิธีคลายเครียดอีกมากมายโดยที่เราไม่ต้องพึ่งพาบุหรี่ ในสังคมปัจจุบัน การสูบบุหรี่ไม่ได้ช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพให้กับผู้สูบ แต่กลับทำให้มีภาพลักษณ์ไปในเชิงลบ ทั้งก่อให้เกิดกลิ่นปาก มีกลิ่นควันบุหรี่ติดตัว นิ้วมือเหลืองซีด ฯลฯ และยังมีโรคร้ายอีกหลายรายการที่รอต่อคิดเข้ามาเพาะเชื้อในร่างกายเรา หยุดทำร้ายตัวเองและคนรอบข้างด้วยควันบุหรี่ และไม่ควรผูกมิตรกับบุหรี่เพราะบุหรี่ไม่เคยเป็นมิตรกับใคร
31 พฤษภาคม 2561 วันงดสูบบุหรี่โลก
Together we can มั่นใจเราทำได้!
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ จัดกิจกรรม “ใส่บาตรหนังสือ ครั้งที่ 16 : อ่านเพื่อสติ” สานต่อศรัทธาผ่านการอ่าน สร้างปัญญา เสริมสิริมงคลรับปีใหม่
นิสิต BBA จุฬาฯ เยี่ยม! ทำคะแนนสอบ TCAS Inter 2024 ได้ที่ 1 ของประเทศ
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ เชิญร่วมงานเสวนา “โปรตุเกส…เหตุที่รัก”
นิสิตสาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดสีน้ำระดับอุดมศึกษา
คณะทันตแพทย์ จุฬาฯ ชวนช็อป ดีมีคืน กับ Chula Dent ในโครงการ Easy E-Receipt 2.0
ขอเชิญชาวจุฬาฯ ประกวดคลิปวิดีโอสร้างสรรค์ “Chula Ethics: Our Code, Our Way: วิถีเรา ตัวตนเรา”
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้