ข่าวสารจุฬาฯ

นักเรียนสาธิตจุฬาฯ นวัตกรอายุน้อย คว้ารางวัลใหญ่ Grand Prize งาน “Seoul International Invention Fair 2022” ที่เกาหลีใต้

                นักเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม คว้ารางวัล Grand Prize รางวัลใหญ่ที่สุดของการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับนานาชาติ ในงาน “Seoul International Invention Fair 2022” (SIIF 2022) จัดโดย Korea Invention Promotion Association (KIPA) เมื่อวันที่ 16-19 พฤศจิกายน 2565 ณ Coex Convention & Exhibition Center กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี จากผลงานนวัตกรรมเบาะรองนั่ง “หลังพร้อม” ตอบโจทย์ผู้ที่มีปัญหาอาการปวดหลังจากการนั่งผิดท่าหรือนั่งนานๆ ประกอบด้วยเบาะรองมีเซนเซอร์ที่ตรวจจับท่านั่งของผู้ใช้งาน พร้อมมีเสียงเตือนเพื่อจัดท่านั่งที่ถูกต้องโดยใช้ร่วมกับแอปพลิเคชัน Oh My Back! นับเป็นหนึ่งในสองรางวัลนวัตกรรมจากประเทศไทยที่ได้รางวัล Grand Prize จากการประกวดในระดับนานาชาติรายการนี้

                นอกจากนี้ ผลงานจากอาจารย์จุฬาฯ ยังคว้าอีก 3 รางวัลจากการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมครั้งนี้ ได้แก่

รางวัลเหรียญทอง (Gold Prize)
จากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ

                – รางวัลเหรียญทอง (Gold Prize) และรางวัลพิเศษจาก Massasei Women’s Charitable Association ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย จากผลงาน “พีต้า โกลด์ ไวท์เทนนิ่ง เซรั่ม” (Peta Gold Whitening Serum: New Natural Anti-tyrosinase Whitening Serum from Red Cocoa) โดย ศ.ดร.นงนุช เหมืองสิน ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ

รางวัลเหรียญเงิน (Silver Award)
จากทีมสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาฯ

                – รางวัลเหรียญเงิน (Silver Award) และรางวัล Best Innovation Award จาก The First Institute of Researchers and Inventors of I.R.Iran จากผลงาน “เครื่องตรวจน้ำตาลชนิดไม่เจาะผิวหนังสำหรับกลุ่มเสี่ยงภาวะเบาหวาน” (Truly Noninvasive Sweat Glucose Sensor for Diabetic Prone Person) โดย ดร.นาฏนัดดา รอดทองคำ ศ.ดร.ประณัฐ โพธิยะราช น.ส.ปราณี รัตนวลีดิโรจน์ ผศ.ดร.กฤษณา ศิรเลิศมุกุล ดร.นาฎตินันทร์ พรหมเพชร และนายพัลลภ หล่อมณีนพรัตน์ จากสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาฯ

รางวัลเหรียญเงิน (Silver Award)
จากคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ

                – รางวัลเหรียญเงิน (Silver Award) และรางวัลพิเศษจาก Vietnam Fund for Supporting Technological Creations (VIFOTEC) สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม จากผลงาน “โคโมดูล : การประกอบโครงสร้างของเล่นเพื่อสร้างแรงบันดาลใจสำหรับเด็กปฐมวัย” (Co Module: Assembling the Toy Structures to Inspire Preschool Children ) โดย ผศ.พรเทพ เลิศเทวศิริ คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ

ทีมนวัตกรจากจุฬาฯ ที่ได้รับรางวัล
ทีมนักเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม

                นวัตกรรมเบาะรองนั่ง “หลังพร้อม” คิดค้นพัฒนาโดย ด.ช.พิชชากร อรพิมพันธ์ ด.ญ.พัทธ์ธีรา อรพิมพันธ์ และ ด.ญ.พัทธวรรณ พิบูลธรรม นักเรียนชั้น ป.6 โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม โดยใช้เวลากว่า 1 ปีในการทำงานร่วมกัน จุดเริ่มต้นในการคิดค้นนวัตกรรมนี้เกิดจากการรวมกลุ่มเพื่อนๆ ที่มีความชอบอยากทำสิ่งประดิษฐ์ โดยได้ไอเดียมาจากการนั่งเรียนออนไลน์เป็นเวลานานแล้วปวดหลัง จึงอยากสร้างเบาะรองนั่งเพื่อเป็นตัวช่วยในการนั่งให้ถูกวิธี ช่วยไม่ให้เกิดอาการปวดหลังจากการนั่งผิดท่าหรือนั่งเรียน นั่งทำงานเป็นเวลานาน โดยมี อ.จีระศักดิ์ จิตรโรจนรักษ์ อาจารย์โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ และรุ่นพี่ของโรงเรียนที่เป็นนิสิตเก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ คอยให้คำแนะนำและเป็นที่ปรึกษา

                “การทำงานของเบาะรองนั่ง จะมีกล่องควบคุมที่ติดตั้งไว้กับเบาะ และมีเซนเซอร์ 6 ตัว ที่เบาะนั่ง 2 ตัว และบริเวณหลังพิง 4 ตัว เพื่อตรวจจับการนั่งของเรา ถ้านั่งไม่สมดุลเป็นเวลานาน เครื่องจะดังแจ้งเตือนให้เราทราบ ซึ่งตัวเครื่องสามารถบันทึกการใช้งาน เก็บข้อมูลการนั่งในแต่ละวัน ตั้งเวลาการนั่ง บอกน้ำหนักการนั่งแต่ละข้าง โดยใช้งานร่วมกับแอปพลิเคชัน Oh My Back!  ที่สามารถตั้งเป้าหมาย มีการแข่งขันเป็นเกม สะสมคะแนน และแลกของรางวัลได้” สามนักเรียนคนเก่งจากโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ กล่าวถึงฟังก์ชั่นการทำงานของนวัตกรรมนี้

อ.จีระศักดิ์ จิตรโรจนรักษ์

                อ.จีระศักดิ์ จิตรโรจนรักษ์ ประธานศูนย์นวัตกรรมแห่งโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม และอาจารย์ที่ปรึกษา เปิดเผยว่า ทางโรงเรียนได้ส่งผลงานนวัตกรรมของนักเรียนเข้าร่วมการประกวดในต่างประเทศเป็นประจำทุกปี ในปีนี้ทางโรงเรียนได้ส่งผลงานของนักเรียนเข้าประกวดในงาน SIIF 2022 จนได้รับคัดเลือกจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ให้เป็น 1 ใน 71 ผลงานที่เป็นตัวแทนของประเทศไทยไปประกวดที่ประเทศเกาหลี ซึ่งนวัตกรรมเบาะรองนั่ง “หลังพร้อม” เป็นผลงานนวัตกรรมของนวัตกรที่อายุน้อยที่สุดคือเป็นนักเรียนในระดับประถมศึกษาเพียงทีมเดียวที่เข้าร่วมการประกวดในครั้งนี้

                อ.จีระศักดิ์ กล่าวถึงแนวทางในการส่งเสริมให้นักเรียนพัฒนานวัตกรรมต่างๆ ว่า เริ่มจากให้นักเรียนมองปัญหาต่างๆ จากสิ่งรอบตัว และคิดค้นวิธีการในการแก้ปัญหานั้นๆ ทางอาจารย์จะช่วยนักเรียนในการค้นหาวิธีการและกระบวนการต่างๆ เท่านั้น ส่วนเรื่องความคิดสร้างสรรค์นั้นไม่มีข้อจำกัดทางด้านอายุ ซึ่งนักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์อยู่แล้ว สิ่งสำคัญคือต้องเชื่อมั่นว่าเราทำได้ ก่อนไปแข่งขันได้ช่วยนักเรียนซักซ้อมการนำเสนอผลงาน ซึ่งนักเรียนทั้งสามนำเสนอผลงานได้ดีเป็นที่ประทับใจของคณะกรรมการอย่างยิ่ง

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า