รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
8 ธันวาคม 2565
ข่าวเด่น
ผู้เขียน นิธิกานต์ ปภรภัฒ
ทำไม “ผ้าอนามัย” ถึงต้องเป็นหนึ่งในสวัสดิการที่ผู้หญิงควรได้รับ “ถ้วยอนามัย” คืออะไร การเปลี่ยนมาใช้ “ถ้วยอนามัย” จะเป็นทางเลือกใหม่ที่ส่งผลดีต่อผู้หญิงอย่างไร หลากหลายคำถามที่หลายคนอยากรู้ บรรณวัชร นาคสู่สุข ประธานหอพักนิสิตชาย นิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ชั้นปีที่ 4 ผู้ริเริ่มโครงการสวัสดิการแจกผ้าอนามัยให้กับนิสิตหอพักจุฬาฯ ได้ไขข้อสงสัยในเรื่องนี้กับทีม Chula Zero Waste พร้อมเผยถึงการทำงานเชิงรุกเพื่อผลักดันโครงการนี้ให้เกิดขึ้นจริง
บรรณวัชร นาคสู่สุข ซึ่งเป็นนิสิตหอพักและนิสิตโครงการจุฬาฯ – ชนบท กล่าวถึงเหตุผลของโครงการสวัสดิการผ้าอนามัยฉุกเฉินสำหรับนิสิตหอพักจุฬาฯ ว่า เพื่อช่วยแก้ปัญหาเฉพาะหน้าสำหรับนิสิตหญิงในหอพักที่ไม่ได้พกผ้าอนามัยติดตัวมาในวันที่มีประจำเดือนวันแรก ซึ่งปัญหาไม่ใช่แค่นั้น แต่เป็นเรื่องของการเสียค่าใช้จ่ายรายเดือนที่สูงและไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ นิสิตที่มาจากต่างจังหวัด หลายคนที่เลือกมาอยู่หอในเพราะต้องการลดค่าใช้จ่าย จากการที่ได้ทำแบบสำรวจพบว่านิสิตหญิงเสียค่าใช้จ่ายในส่วนของผ้าอนามัยขั้นต่ำเดือนละ 200 บาทโดยเฉลี่ย รวมทั้งนิสิตมีรายจ่ายที่จำเป็นแฝงอยู่ค่อนข้างมาก เพราะฉะนั้นการมีสวัสดิการผ้าอนามัยจะสามารถช่วยให้นิสิตหญิงลดรายจ่ายรายเดือนที่หลีกเลี่ยงแทบไม่ได้ เป็นการประหยัดเงินในส่วนนี้
“โครงการนี้ตั้งต้นจากงบที่มีอยู่ คณะกรรมการนิสิตหอพักจุฬาฯ ได้คิดวางแผนว่าจะแจกผ้าอนามัยจำนวนคนละเท่าใด และเลือกรูปแบบไหนที่เหมาะสมที่สุด ระหว่างวางแผนก็ลองออกไปขอสปอนเซอร์ด้วย ก่อนจะจัดซื้อผ้าอนามัยก็ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมว่าผ้าอนามัยแต่ละชนิดมีความแตกต่างกันอย่างไร เมื่อคำนวณแล้วจึงได้ข้อสรุปว่างบ 14,200 บาท สามารถซื้อผ้าอนามัยได้ประมาณ 400 กล่อง เพียงพอสำหรับ 3-4 เดือน ซึ่งคิดเป็น 10 % ของนิสิตหญิงที่อยู่ในหอพักนิสิตจุฬาฯ โดยการแจกผ้าอนามัยใช้วิธี First come, first serve” บรรณวัชรกล่าว
หลายคนคงสงสัยว่าทำไมผู้ชายถึงเป็นคนริเริ่มโครงการนี้ซึ่งเป็นการช่วยเหลือนิสิตหญิงในเรื่องผ้าอนามัย บรรณวัชรให้คำตอบว่า “เรามีเพื่อนเป็นผู้หญิง เห็นช่วงเวลาที่เขาปวดท้อง ไม่สบายตัวจนต้องประคบร้อน หรือกินยา ไหนจะต้องมาวุ่นวายกับการซื้อและพกผ้าอนามัยอีก พวกนี้เป็นรายจ่ายทั้งนั้น มันหนักขนาดไหนเราไม่มีทางเข้าใจ เป็นความแตกต่างทางเพศกำเนิดซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้หญิง ส่วนตัวผมมองว่าเป็นการสนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศมากกว่า เราอยากจะผลักดันให้ Community ของเราให้ดีขึ้น”
จากโครงการแจกผ้าอนามัยฟรีในระยะเริ่มแรก ด้วยจุดประสงค์ที่อยากจะช่วยลดค่าใช้จ่ายแก่นิสิตหอพักจุฬาฯ ปัจจุบันโครงการได้เพิ่มการแจกถ้วยอนามัย (Period Cup) ถ้วยซิลิโคนที่มีมาตรฐานใช้ทางการแพทย์ ใส่ในช่องคลอดเพื่อรองรับประจำเดือน มีข้อดีในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นอายุการใช้งานที่นานถึง 10 ปี ทำความสะอาดแล้วใช้ซ้ำได้เลย และสามารถลดขยะได้ ที่สำคัญคือช่วยลดค่าใช้จ่ายในระยะยาว ซึ่งน่าจะเกิดความยั่งยืนกว่าผ้าอนามัยที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง โดยได้รับการสนับสนุนความรู้และ Workshop ในการใช้งานจาก Cups of Joie ที่มาช่วยอธิบายวิธีการใส่ถ้วยอนามัย วิธีการทำความสะอาด วิธีการวัดช่องคลอดเพื่อเลือกไซส์ให้เหมาะกับร่างกายเรา
“ในบริบทสังคมไทย การใช้ถ้วยอนามัยใส่เข้าไปในร่างกายอาจจะทำให้ใครหลายคนกังวลใจ ซึ่งเราไม่ได้บังคับว่าคุณต้องใช้ถ้วยอนามัย ผ้าอนามัยแบบแผ่นเราก็มีให้เลือก แต่เราก็อยากสนับสนุนคนกลุ่มแรกๆ ที่เปิดใจพร้อมลองใช้ถ้วยอนามัย อาจารย์ที่ทำหน้าที่อนุสาสก ดูแลหอพักนิสิตก็เห็นด้วยกับการที่เราจะช่วยเหลือค่าใช้จ่ายของนิสิต จึงได้อนุมัติงบประมาณเต็มจำนวนตามที่เราขอไป เพราะประโยชน์มอบให้กับคนที่ต้องการจริงๆ และช่วยลดค่าใช้จ่ายที่เห็นผลได้จริง”
บรรณวัชรกล่าวเพิ่มเติมว่าการใช้ถ้วยอนามัยอาจจะเป็นการลงทุนที่ค่อนข้างแพง เพราะถ้วยอนามัย 1 ชิ้นราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 300 – 1,200 บาท แล้วแต่ความต้องการของผู้ใช้งาน แต่หลายคนเลือกเป็นถ้วยอนามัยเพราะช่วยลดค่าใช้จ่ายในระยะยาว และสามารถใช้ได้นานเป็น 10 ปี ไม่ว่าจะเป็นนิสิตปีไหน เราก็ให้การสนับสนุนถ้วยอนามัยให้
มาลองฟังมุมมองของผู้เข้าร่วมโครงการกันบ้าง วิมลพร จันระวงศ์ นิสิตชั้นปีที่ 1 คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ให้ความเห็นว่า “เริ่มใช้ถ้วยอนามัยเมื่อปีที่แล้ว ที่เปลี่ยนมาใช้ถ้วยอนามัยเพราะว่าตอนนั้นประจำเดือนมาไม่ปกติ จึงหมดเงินไปกับผ้าอนามัย รู้สึกว่าเปลืองมาก ขยะก็เยอะมากด้วย ทำให้เริ่มลองใช้ถ้วยอนามัย เป็นการซื้อครั้งเดียวแล้วจบ ไม่ต้องซื้อซ้ำหลายรอบ ก็เลยเปลี่ยนมาใช้ถ้วยอนามัย ตอนนี้ร่างกายดีขึ้นแล้ว หมอให้ทานยาปรับฮอร์โมน ประจำเดือนก็เลยมาปกติแต่ก็ยังใช้ถ้วยอนามัยต่อไป ชีวิตเปลี่ยน ไม่ต้องเสียเงินให้กับค่าผ้าอนามัยทุกเดือน ชอบตรงที่พอใส่แล้วเหมือนเราไม่ได้ใส่อะไรเลย ทำกิจกรรมหรือเวลานอนก็สะดวกมากขึ้น ไม่มีปัญหาการเลอะ”
“แต่ละเดือนผู้หญิงเสียค่าใช้จ่ายไปกับผ้าอนามัยไปเยอะมาก การแจกถ้วยอนามัย แจกครั้งเดียวแต่ใช้ได้นานหลายปี เมื่อเทียบกันแล้วการใช้ถ้วยอนามัยมันยั่งยืนกว่า ไม่คิดว่าที่หอพักนิสิตจุฬาฯ จะแจกถ้วยอนามัย พอเห็นโปสเตอร์โครงการก็รีบสมัครมาเลย เพราะถ้วยอนามัย 1 อันก็ค่อนข้างแพง แอบไปเช็คราคาตัวที่ได้มาก็ 890 บาท แต่โครงการนี้แจกฟรี เป็นโครงการที่ดี อยากสนับสนุนให้มีต่อไปอีกเรื่อยๆ” วิมลพร กล่าว
ติดตามความเคลื่อนไหวโครงการแจกผ้าอนามัยฟรีของหอพักนิสิตจุฬาฯ ได้ที่ Facebook Page
คณะกรรมการนิสิตหอพักจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย https://www.facebook.com/RCUCOMMITTEE
ติดตามกิจกรรมส่งเสริมการสร้างสรรค์สังคมสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น ได้ที่ Chula Zero Waste http://www.chulazerowaste.chula.ac.th/ และทาง Facebook page : chulazerowaste https://www.facebook.com/chulazerowaste/
เรื่องราว/ภาพ : ปวิตรา ชำนาญโรจน์ Chula Zero Wasteเรียบเรียง : นิธิกานต์ ปภรภัฒ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จฯ ในพิธีทูลเกล้าฯ ถวายฉลองพระองค์ครุยพระบรมราชูปถัมภก และทอดพระเนตรการแสดงดนตรีเฉลิมพระเกียรติ “รวมใจภักดิ์ เฉลิมทศมจักรีนฤบดินทร์ : มหาดุริยางค์ไทย-สากล”
เทศกาลความสนุกส่งท้ายปี “Siam Street BIG RETURN 2024” 20-22 ธันวาคมนี้ที่สยามสแควร์ ชมฟรีตลอดงาน
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ จัดงานประกาศผลมูลค่าแบรนด์องค์กร ASEAN and Thailand’s Top Corporate Brands 2024 มอบรางวัลสุดยอดแบรนด์องค์กรและรางวัลหอเกียรติยศ
ผศ.ทพ.ดร.ศุภชัย ชื่นจิตรวงษา ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาฯ ได้รับยกย่องเป็นทันตแพทย์ดีเด่น ด้านพัฒนาวิชาชีพ
จุฬาฯ จัดงาน “Chula Townhall” เปิดวิสัยทัศน์พัฒนามหาวิทยาลัยรอบทิศโดยมีนิสิตเป็นศูนย์กลาง พร้อมส่งความสุขปีใหม่ให้ชาวจุฬาฯ
จุฬาฯ เสริมสร้างศักยภาพด้านการบริหารจัดการแก่ผู้บริหาร หลักสูตร The Leader Prospects รุ่นที่ 14
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้