ข่าวสารจุฬาฯ

“ขนมชั้นแห่งอนาคต” จากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศ Future Food For Sustainability 2022

ขนมชั้นแห่งอนาคต สูตรลดน้ำตาล เสริมใยอาหารและโพรไบโอติก ผลงานของทีมเลอชั้น ซึ่งประกอบด้วยนิสิตและนิสิตเก่าภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ได้แก่ นายนุติ หุตะสิงห นิสิตปริญญาเอกและบัณฑิตปริญญาตรี ปีการศึกษา 2564 อีก 2 คน คือนายศิริวัฒน์ จันทร์ธีรกูร และ น.ส.สุกฤตา สุขสำราญ โดยมี รศ.ดร.ขนิษฐา ธนานุวงศ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 จากการแข่งขัน Future Food For Sustainability 2022 

โครงการ “Future Food For Sustainability” เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจในอาหารแห่งอนาคต ร่วมสร้างสรรค์เมนูอาหารภายใต้แนวคิด BCG ในคอนเซ็ปต์  “Plate to Planet” โครงการนี้มีผู้ร่วมสมัครแข่งขันทั้งสิ้น 2,018 ทีม และมีการประกาศผลการแข่งขันเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2565 ซึ่งขนมชั้นแห่งอนาคต จากทีมเลอชั้น ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 พิชิตเงินรางวัล 1,000,000 บาท ได้สำเร็จ เมนูนี้ยังได้รับเลือกเป็นหนึ่งในเมนูอาหารที่ใส่ในชะลอมสำหรับเสิร์ฟแก่ผู้นำและแขกผู้มีเกียรติในงานเลี้ยงรับรองของการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค 2022 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมาอีกด้วย

ขนมชั้นแห่งอนาคต มีจุดเด่นดังนี้

ดีต่อกาย: ลดน้ำตาลลง 40% จากสูตรเดิม โดยไม่ต้องใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล เพราะใช้เทคนิคการปรับโครงสร้างขนมให้มีชั้นหวานสลับชั้นจืด และอาศัยความหวานตกค้าง (sweet aftertaste) จากชั้นหวาน ทำให้ลิ้นยังคงรับรสหวานได้ดังเดิม นอกจากนี้ยังเสริมใยอาหารกลุ่มพรีไบโอติก (prebiotic) ในเนื้อขนม เสริมจุลินทรีย์โพรไบโอติกสายพันธุ์พิเศษในครัมเบิ้ลมะพร้าว และเสริมโปรตีนมะพร้าวในซอสมะพร้าวเข้มข้นอีกด้วย 

ดีต่อใจ:ด้วยรูปลักษณ์ที่สวยงามสะดุดตา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากดอกบัวในสระโบกขรณีจากวรรณคดีไทย นอกจากนี้ยังมีกลิ่นรส รสชาติและเนื้อสัมผัสที่อร่อยและหลากหลายในจานเดียว เริ่มตั้งแต่เนื้อขนมชั้นที่นุ่มหนึบ หอมกลิ่นน้ำตาลสด เสริมด้วยซอสมะพร้าวเข้มข้นรสเค็ม-หวาน และครัมเบิ้ลมะพร้าวที่กรุบกรอบและหอมมันคล้ายมะพร้าวคั่ว ซึ่งเข้ากันได้อย่างลงตัว และยังคงเอกลักษณ์ของขนมไทยได้อย่างครบถ้วน

ดีต่อโลก: สีชมพูของดอกบัวได้มาจากสารสกัดของเปลือกผลแก้วมังกร ส่วนครัมเบิ้ลมะพร้าวถูกเตรียมจากผลพลอยได้จากการเคี่ยวหัวกะทิให้แตกมัน จึงเป็นการนำ food waste มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ยิ่งไปกว่านั้น เมนูนี้ใช้วัตถุดิบจากพืชทั้งหมด (plant-based raw materials) ซึ่งเป็นการลดการปลดปล่อยแก๊ส CO2 ได้มากกว่าการใช้ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ และใช้วัตถุดิบหลักซึ่งผลิตในประเทศไทย จึงช่วยสนับสนุนเกษตรกรไทยได้อย่างเต็มที่

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า