ข่าวสารจุฬาฯ

จุฬาฯ พัฒนาระบบ Chula TUN-T รายงาน แก้ไข ติดตามปัญหาได้ทันที

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนำระบบ Chula TUN-T (ทันที) : The University Notification Technology เข้ามาใช้ในมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นระบบบน Cloud ที่ปรับปรุงต่อยอดจากระบบ Traffy Fondue เพื่อพัฒนากระบวนการรับฟังปัญหาและติดตามการแก้ไขปัญหาที่ชาวจุฬาฯ ผู้รับบริการสามารถเข้าถึงได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว 

สำนักยุทธศาสตร์และการขับเคลื่อน จุฬาฯ ได้จัดอบรมการใช้งานระบบ Chula TUN-T เมื่อวันอังคารที่ 13 ธันวาคม 2565 เพื่อสร้างความเข้าใจและแนะนำการใช้งาน Chula TUN-T (ทันที) แก่บุคลากรจุฬาฯ ซึ่งได้รับความสนใจจากบุคลากรจากคณะ สถาบัน และหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมการอบรมทั้งแบบ ออนไซต์ ที่ห้องประชุม 202 อาคารจามจุรี 4 และทางออนไลน์ผ่านระบบ Zoom เป็นจำนวนมาก โดยมี   รศ.ภก.ดร.วันชัย ตรียะประเสริฐ ผู้ช่วยอธิการบดี งานด้านกิจการพิเศษ เป็นผู้กล่าวเปิดการอบรม

Chula TUN-T (ทันที) เป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยรับเรื่องราวจากชาวจุฬาฯ เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา และติดตามการดำเนินงานต่างๆ ในพื้นที่จุฬาฯ ปัญหาที่รับแจ้ง 12 ประเภท มีดังนี้ 

1. ความสะอาด

2. ต้นไม้ กลิ่น เสียง สัตว์

3. อาคาร อุปกรณ์ชำรุด

4. ถนน ทางเท้า ที่จอดรถ

5. รถ Muvmi สกูตเตอร์ไฟฟ้า จักรยานเช่า

6. รถ POP

7. การเรียนการสอน

8. ลงทะเบียนเรียน

9. IT & Internet

10. จุดเสี่ยง / จุดอันตราย

11. เหตุด่วนเหตุร้าย

12. อื่นๆ 

รศ.ภก.ดร.วันชัย ตรียะประเสริฐ ผู้ช่วยอธิการบดี งานด้านกิจการพิเศษ เปิดเผยว่า Chula TUN-T     (ทันที) ได้รับการออกแบบขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการบริหารจัดการปัญหาของจุฬาฯ ทำให้จุฬาฯ น่าอยู่  ปัญหาต่างๆ ได้รับการแก้ไข ซึ่งแบ่งปัญหาออกเป็น 12 ประเภท เช่น ปัญหาความสะอาด เรื่องการเรียนการสอน เรื่องการลงทะเบียน เป็นต้น ผู้ร้องเรียนสามารถเข้ามาที่แชทไลน์เพื่อแจ้งปัญหาได้โดยตรง เราจะมีเจ้าหน้าที่รับเรื่องปัญหาต่างๆเหล่านี้มาคอยแก้ไข เมื่อแก้ไขเสร็จแล้ว จะมีการแจ้งกลับให้ผู้ร้องรับทราบว่าปัญหานี้ได้ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว ในช่วงสองสัปดาห์แรกของการใช้งานอยู่ในช่วงทดลองใช้โดยเริ่มจากเจ้าหน้าที่ที่เป็นบุคลากรจุฬาฯ จากคณะและส่วนงานต่างๆ  ในเดือนมกราคม 2566 จะเริ่มใช้กับนิสิตด้วย  ซึ่งจะมีการปรับปรุงพัฒนาให้เหมาะสมเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น

รศ.ภก.ดร.วันชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า ระบบนี้จะเป็นแบบ Two Way Communication  จะมีสถิติของการแก้ไขปัญหาต่างๆ ว่าดำเนินการในเรื่องใด ทั้งนี้จะมีการประสานงาน รวมทั้งมีการรายงานผลการดำเนินงานตลอดเพื่อไม่ให้ปัญหาตกหล่น ข้อมูลที่ได้รับแจ้งมานั้น มหาวิทยาลัยสามารถดูได้ว่าเป็นกลุ่มปัญหาอะไร จะทำให้ผู้บริหารในระดับชั้นต่างๆ สามารถเห็นภาพของปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อหาข้อสรุปในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ซ้ำๆ ไม่ให้ปัญหานั้นเกิดขึ้นอีกต่อไป 

ดร.ขวัญนภัส สรโชติ  หัวหน้ากลุ่มภารกิจพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม จุฬาฯ กล่าวว่า “แอปพลิเคชั่นนี้จะช่วยสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยขึ้นในมหาวิทยาลัย ทำให้จุฬาฯ มีความน่าอยู่ เมื่อเห็นอะไรที่ไม่ปกติก็สามารถช่วยกันแก้ไขปัญหา ตัวระบบสามารถเข้าทุกถึงทุกคนที่เกี่ยวข้องที่เข้ามาในพื้นที่จุฬาฯ การอบรมในครั้งนี้ทำให้ชาวจุฬาฯ ได้ทราบว่าจะมีการใช้ระบบนี้ในการรายงานและติดตามปัญหา รวมถึงแก้ไขปัญหา ซึ่งเป็น การบูรณาการรวมกันในทุกส่วนงาน”

อรพันธ์ จันทร์ใหม่ เจ้าหน้าที่สำนักงาน บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ  กล่าวว่า การอบรมในครั้งนี้ได้รับประโยชน์มากมาย ทำให้เห็นการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ของจุฬาฯ ที่เข้ามาช่วยในเรื่องของการทำงาน รวมทั้งในเรื่องของการติดตามงานต่างๆ การรายงานข้อมูลที่ทุกคณะและส่วนงานสามารถเห็นข้อมูลร่วมกัน ซึ่งจะะทำให้ได้เห็นภาพของปัญหาที่เกิดขึ้น   ระบบ Chula TUN-T  จะเก็บข้อมูลเรื่องการร้องเรียนต่างๆ ใน 12 ปัญหา ผู้ใช้งานสามารถรายงานปัญหาตรงไปยังระบบ Chula TUN-T ผ่านทาง Line และแอปพลิเคชั่นที่ใช้งานได้ง่าย ซึ่งติดตั้งในสมาร์ทโฟน โดยถ่ายภาพและรายงานเข้าไป แสดงให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมระหว่างหน่วยงานในจุฬาฯ  ในการใช้งานร่วมกัน

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า