รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
21 ธันวาคม 2565
ข่าวเด่น
ผู้เขียน ธิติรัตน์ สมบูรณ์
วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ และคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ด้วยความร่วมมือจากศูนย์ประสานงานเพื่อการวิจัยแรงงานแห่งจุฬาฯ สถาบันพัฒนาบุคลากร สาขาเทคโนโลยีการผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์ และศูนย์วิจัยแรงงานแห่งชาติ กระทรวงแรงงาน จัดสัมมนา “ประเด็นแรงงานในเศรษฐกิจดิจิทัล” เมื่อเร็วๆ นี้ ผ่านระบบออนไลน์ Zoom มีผู้เข้าร่วมสัมมนาทั้งสิ้นจำนวน 131 คน
การสัมมนาครั้งนี้ กล่าวเปิดการสัมมนาโดย รศ.ดร.ปัทมวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และคุณเอกสิทธิ์ คุณานันทกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวปราศรัยหลัก จากนั้นเป็นการนำเสนอผลการศึกษาโครงการประเด็นแรงงานในเศรษฐกิจดิจิทัล โดยทีมศึกษาวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย ผศ.ดร.รัตติยา ภูละออ จากวิทยาลัยประชากรศาสตร์ ผศ.ดร.ศุภศิษฏ์ ทวีแจ่มทรัพย์ จากคณะนิติศาสตร์ คุณอรรคณัฐ วันทนะสมบัติ จากสถาบันเอเซียศึกษา และคุณจิตรพงศ์ พุ่มสอาด ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบบริการ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน
นอกจากนี้ยังมีการอภิปรายเรื่องประเด็นแรงงานในเศรษฐกิจดิจิทัล: ความท้าทาย แนวทางเพื่อการนำไปใช้พัฒนาการวิจัยและเสนอแนะมาตราการขับเคลื่อนหลักในปัจจุบัน และอนาคต จากกลุ่มผู้แทนภาคต่าง ๆ อาทิ คุณบวรศักย์ กล้าหาญ ที่ปรึกษาสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย (ผู้แทนจากสภาองค์กรนายจ้างแห่งประเทศไทย) คุณสุชาติ จันทรานาคราช รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ผู้แทนจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย TBC) คุณมานิตย์ พรหมการีย์กุล ประธานสภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย (ผู้แทนจากลูกจ้างภาคการผลิต) คุณบัณฑิต จันทร์แก้วแร่ ประธานสหภาพแรงงานธนาคารกรุงเทพ (ผู้แทนจากลูกจ้างภาคบริการ) ผู้แทนจากกระทรวงพัฒนาฝีมือแรงงาน ดร.ถิรภาพ ฟักทอง ผู้อำนวยการคณะทำงานพัฒนาศูนย์ข้อมูล Big Data และพัฒนาการเรียนการสอน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ผู้แทนจากภาควิชาการ)
ทั้งนี้ ข้อสรุปที่น่าสนใจจากงานนี้มีดังนี้
– ต้องมีการพัฒนาระบบจับคู่และการพัฒนาที่เน้นให้ความช่วยเหลือผู้ที่รับผลกระทบจากการเปลี่ยนผ่านของเครื่องจักรและดิจิทัลโดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางที่มีการศึกษาน้อย มีอายุ และมีสภาพร่างกายที่ไม่พร้อมที่จะปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ยังต้องเพิ่มศักยภาพให้กับกลุ่มคนที่มีความพร้อมให้สามารถก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคงยิ่งขึ้น
– ลดความเหลื่อมล้ำในหลายแง่มุม รวมถึงการเพิ่มการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลของประชาชนทุกกลุ่ม
– ส่งเสริมการขับเคลื่อนนโยบายและการขับเคลื่อนร่วมด้วยข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงลึก (Data Insight) รวมถึงการดึงเอาฐานข้อมูลที่กระจัดกระจายในปัจจุบันมาเชื่อมต่อกัน ส่งเสริมและส่งต่อไปยังผู้ใช้นโยบาย กลุ่มผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและกลุ่มผู้ที่ใช้งาน
– ส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน เช่น ระบบฐานข้อมูล ทรัพยากรในการพัฒนาทักษะของทรัพยากรมนุษย์
– ด้านการพัฒนาทักษะต้องมีการหาทางออกร่วมกันทั้งฝ่ายลูกจ้าง และนายจ้าง เพื่อสร้างโอกาส และช่วยเพิ่มช่องทางให้ผู้ที่เข้าถึงโอกาสได้น้อยร่วมเดินทางไปด้วยกันในทิศทางที่จะพัฒนาไปพร้อมกันได้ ซึ่งการขับเคลื่อนที่มีประสิทธิภาพมีความจำเป็นที่ต้องเกิดขึ้นจากความร่วมมือของหลายฝ่าย และมีความมุ่งมั่นร่วมกันต่อไป
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
อธิการบดีจุฬาฯ ได้รับเลือกเป็นประธานสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASAIHL) ปี 2025-2026
นิสิตภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน CHOICEISYOURS 2024
จุฬาฯ เชิญชวนร่วมงาน “One Stop Open House 2024” โดยกระทรวง อว. ระหว่างวันที่ 27 พ.ย. – 1 ธ.ค. 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
เชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมด้านจิตวิทยา “BRIDGING DISCIPLINES: Incorporate Psychology into Your Endeavor”
8 ม.ค. 2568 เวลา 09.00 – 16.00 น.
ชั้น 6 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาฯ
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้