ข่าวสารจุฬาฯ

“Thailand Halal Assembly 2022” สำเร็จยิ่งใหญ่ หลายพลังร่วมขับเคลื่อนวิทยาศาสตร์ฮาลาลนำ “ฮาลาลเพชรประเทศไทย” สู่ระดับสากล

ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่กับงานวิทยาศาสตร์ฮาลาลที่ได้รับคำชื่นชมจากนานาชาติว่าดีที่สุดในระดับสากล การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ “Thailand Halal Assembly 2022” ภายใต้แนวคิด “Soft Powering of Halal Science, Technology and Innovation” หรือ “พลังละมุนแห่งวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมฮาลาล” เพื่อผลักดันวิทยาศาสตร์ฮาลาลประเทศไทยในรูปแบบพลังละมุน (Soft Power) ให้ขจรไกลไปทั่วโลก ขับเคลื่อนการพัฒนางานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ที่หลอมรวมความเป็นฮาลาล คุณค่าเชิงจิตวิญญาณ ผสานความเป็นไทย นำฮาลาล  ประเทศไทยก้าวสู่ยุคเทคโนโลยีดิจิทัล นำความเป็น “ฮาลาลเพชรประเทศไทย” สู่ระดับสากล กล่าวเปิดงานโดย รศ.ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์ ผู้แทนอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายประสาน ศรีเจริญ ผู้แทนจุฬาราชมนตรี พล.ต.ต.สุรินทร์ ปาลาเร่ เลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และ Mr.Ihsan Ovut เลขาธิการสถาบันมาตรฐานและมาตรวิทยาเพื่อประเทศอิสลาม (SMIIC) ภายใต้องค์การความร่วมมือประเทศอิสลาม (OIC)

รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศวฮ.) และประธานจัดงาน กล่าวว่า ศวฮ. ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย (สกอท.) และสถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย (สมฮท.) จัดงาน “Thailand Halal Assembly 2022” ระหว่างวันที่ 15 – 16 ธันวาคม 2565 ณ อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (จามจุรี 10) ประกอบด้วย งานประชุมวิชาการนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮาลาล (The International Halal Science and Technology Conference หรือ IHSATEC2022 และ Halal Science Industry and Business (HASIB ครั้งที่ 15)  การประชุมนานาชาติว่าด้วยมาตรฐานและการตรวจรับรองฮาลาล ครั้งที่ 8 (The 8th  International Halal Standards and Certification Convention หรือ IHSACC) และนิทรรศการวิชาการ ภายใต้หัวข้อ “Soft Powering of Halal Science, Technology and Innovation” โดย รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน และ รศ.ดร.ปกรณ์ ปรียากร เป็นวิทยากรนำ การจัดงานตลอด 2 วัน มีผู้ร่วมทั้งในและนอกสถานที่กว่า 1,500 คน โดยเป็นผู้ลงทะเบียนร่วมงานในสถานที่ 531 คน จาก 41 ประเทศทั่วโลก ประกอบด้วยประเทศไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไนดารุสลาม ฟิลิปปินส์  เวียดนาม สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกง อินเดีย ศรีลังกา ปากีสถาน ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สาธารณรัฐเยเมน อียิปต์ จอร์แดน ตุรเคีย ฝรั่งเศส เยอรมนี รัสเซีย สเปน สหราชอาณาจักร อิตาลี โปแลนด์ บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา แอฟริกาใต้ ไนจีเรีย แอลจีเรีย ซูดาน เอธิโอเปีย โกตดิวัวร์ สหรัฐอเมริกา เม็กซิโก บราซิล ตรินิแดดและโตเบโก อุรุกวัย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์

งานประชุมวิชาการ IHSATEC และ HASIB วิทยากรประกอบด้วย 19 ผู้เชี่ยวชาญทั้งชาวไทยและต่างประเทศ จากหลากหลายสาขาในแวดวงฮาลาล อาทิ นักวิชาการในสถาบันการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อุตสาหกรรม ธุรกิจ และการท่องเที่ยวฮาลาล รวมถึงผู้ชำนาญการจากหน่วยงานการรับรองฮาลาล มีการบรรยายใน 4 session คือ Session-1: “INNOVATIVE HALAL PRODUCTS THAT STEER THE FUTURE”  Session-2: “TRACKING AND TRACING TECHNOLOGY FOR HALAL QUALITY CONTROL” Session-3: “BLOCKCHAIN-BASED TRACEABILITY FOR HALAL PRODUCTS AND SERVICES” และ Session-4: “FUTURE, CHALLENGES AND OPPORTUNITIES OF HALAL PRODUCTS”  ส่วนการประชุม 8th IHSACC ภายใต้แนวคิด “THE DEVELOPMENT OF NEW HALAL STANDARDS FOR THE NEXT TRENDS OF NEW PRODUCTS AND SERVICES” วิทยากรประกอบด้วย 6 ผู้ชำนาญการจากหน่วยงานการรับรองฮาลาล ทั้งด้านมาตรฐานฮาลาลและมาตรวิทยา รวมถึงสถาบันมาตรฐานและมาตรวิทยาเพื่อประเทศอิสลาม (The Standards and Metrology Institute for the Islamic Countries (SMIIC)) ด้วย

ภายในงานยังมีการประกวดผลงานวิชาการจาก 16 ประเทศ นำเสนอในรูปแบบการบรรยายปากเปล่า 37 ผลงาน โปสเตอร์ 5 ผลงาน มีผู้สนใจอย่างมาก มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้เข้าร่วมงานกับนักวิจัยนับเป็นการสร้างเครือข่ายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมฮาลาลในสาขาเดียวกัน บทความวิจัยฉบับสมบูรณ์ (full paper) จากการประชุมครั้งนี้จะได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ใน Proceedings of The International Halal Science and Technology Conference (IHSATEC) 2022 หรือในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ Journal of Halal Science, Industry and Business (JHASIB) ซึ่งจะตีพิมพ์เผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ นอกจากนี้ภายในงานทาง ศวฮ.ได้ลงนามความร่วมมือกับ 3 หน่วยงานจากประเทศอินโดนีเซีย ได้แก่ Universitas Islam Bandung (UNISBA), Universitas Muhammadiyah A.R. Fachruddin และ Research Synergy Foundation (RSF) เพื่อร่วมสร้างเครือข่ายด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมฮาลาลต่อไป 

การจัดงาน Thailand Halal Assembly 2022 ครั้งนี้ ประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง เป็นการรวมตัวของแต่ละภาคส่วนเพื่อขับเคลื่อนงานฮาลาลประเทศไทยสู่สากล ได้รับการชื่นชมอย่างมากจากวิทยากรและผู้เข้าร่วมงานจากต่างประเทศถึงรูปแบบการจัดงานและความน่าสนใจของหัวข้อการประชุม ตลอดจนการมีส่วนร่วมถามตอบในการประชุมที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อพัฒนาการด้านวิชาการและวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมฮาลาลในอนาคต  

ผู้สนใจข้อมูลต่างๆ หลังการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ “Thailand Halal Assembly 2022” ครั้งนี้ สามารถติดตามข่าวสาร ได้ที่โทร. 0-2218-1053 ต่อ 224

 www.Thailandhalalassembly.com

 Facebook : Thailand Halal Assembly

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า