รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
9 มกราคม 2566
ข่าวเด่น, งานวิจัยและนวัตกรรม
ผู้เขียน ขนิษฐา จันทร์เจริญ
ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้พิการขาขาดจำนวน 39,647 คน และกว่า 95 % ของผู้พิการขาขาดใช้เท้าเทียมที่ด้อยคุณภาพ น้ำหนักมาก และไม่มีข้อเท้า ทำให้เดินได้ไม่ดี ส่งผลต่อคุณภาพในการดำเนินชีวิตของผู้พิการ
จากข้อมูลข้างต้นของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เป็นจุดเริ่มต้นให้ทีมวิจัยจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ คิดค้นพัฒนาเท้าเทียมไดนามิกส์คุณภาพสูง มีความยืดหยุ่น สามารถงอเท้า เก็บพลังงานในเท้าเทียมได้ ทำให้มีแรงส่งขณะเดิน ตัวเท้าทำจากวัสดุคาร์บอนไฟเบอร์ น้ำหนักเบา แข็งแรง ผู้พิการสวมใส่แล้วสามารถเดินในพื้นที่ขรุขระ ออกกำลังกาย และวิ่งเหยาะๆ ได้เหมือนคนปกติ เท้าเทียมนี้ได้ผ่านการทดสอบความแข็งแรงตามมาตรฐานสากล ISO 10328 จากประเทศเยอรมนี และได้รับการรับรองมาตรฐานการบริหารคุณภาพ ISO 13485 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ยังได้ขึ้นทะเบียนเครื่องมือแพทย์จัดแจ้งกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) รวมถึงการจดอนุสิทธิบัตร และขึ้นทะเบียน Thai SME-GP เรียบร้อยแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการขึ้นทะเบียนบัญชีนวัตกรรมไทยการขอใบรับรอง Made in Thailand และการรับรองมาตรฐานสากล CE Marking
รศ.ดร.ไพรัช ตั้งพรประเสริฐ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวถึงการพัฒนาเท้าเทียมไดนามิกส์ ทางเลือกใหม่ของผู้พิการขาขาดว่า ได้ทำการทดสอบเท้าเทียมไดนามิกส์ด้านคลินิกกับผู้พิการ 20 ราย ผลปรากฎว่าได้ผลเป็นที่น่าพึงพอใจอยู่ในระดับดีมาก ผู้พิการใช้ระยะเวลาปรับตัวให้คุ้นชินประมาณ 2 สัปดาห์ โดยเท้าเทียมที่พัฒนาขึ้นมานี้เมื่อนำมาเปรียบเทียบคุณสมบัติและสมรรถนะของเท้าเทียมไดนามิกส์นำเข้าที่มีการขายในท้องตลาดพบว่ามีคุณสมบัติและสมรรถนะเท่าเทียมกับที่นำเข้าจากต่างประเทศ แต่ต้นทุนการผลิตถูกกว่าการนำเข้าถึง 5 เท่า ทำให้สามารถลดการนำเข้าสินค้าอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ทางด้านกายอุปกรณ์ซึ่งมีราคาสูงมากได้ นอกจากนี้ การนำมาผลิตในเชิงพาณิชย์ในอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ยังสามารถขยายการผลิตไปยังต่างประเทศได้อีกด้วย ถือว่าเป็นการเพิ่มรายได้ สร้างโอกาสการส่งออกและสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
การเป็นอาจารย์วิศวกรรมศาสตร์แต่มีความสนใจที่อยากจะจับงานวิจัยด้านการแพทย์ ทำให้ รศ.ดร.ไพรัชต้องศึกษาหาความรู้ข้ามศาสตร์ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะการทำงานศาสตร์เดียวแล้วจะนำไปประยุกต์ใช้งานให้ได้งานที่ดีนั้นเป็นไปได้ยากมาก
“การพัฒนาเท้าเทียมไดนามิกส์ที่ถือว่าเป็นเครื่องมือแพทย์ต้องมีทั้งแพทย์ นักกายอุปกรณ์ มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์การทำงานร่วมกันเป็นเครือข่าย ถือเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ข้ามศาสตร์ ทำให้ได้องค์ความรู้ที่ครบถ้วน ส่งผลให้การพัฒนาเท้าเทียมไดนามิกส์ได้อย่างมีคุณภาพ สามารถใช้งานได้จริงตามมาตรฐานสากล รู้สึกภาคภูมิใจที่ได้ผลิตอวัยวะเทียมจนประสบความสำเร็จใช้ประโยชน์ได้จริงๆ ในการช่วยเหลือผู้พิการขาดขาดให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตเท่าเทียมกับคนปกติได้” รศ.ดร.ไพรัช กล่าวเสริม
เท้าเทียมไดนามิกส์นี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เพื่อจัดทำโครงการกายอุปกรณ์สำหรับผู้พิการภายใต้โครงการฉลิมพระเกียรติ “ก้าวใหม่ด้วยวิจัยและนวัตกรรม” เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โดยได้มีการนำเท้าเทียมไดนามิกส์จำนวน 67 ขา มอบให้กับผู้พิการขาขาดตามโรงพยาบาลกว่า 13 แห่ง ปัจจุบันผลงานเท้าเทียมไดนามิกส์อยู่ในระหว่างการเสนอเข้าสู่ภายใต้สิทธิ์การรักษาของรัฐบาล เพื่อให้ผู้พิการสามารถเข้าถึงได้ เป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้พิการให้ดีขึ้น
จุฬาฯ-NTU ร่วมมือซ่อมฝายชะลอน้ำในจังหวัดน่าน พัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน
พิธีเปิดงาน SIAM SQUARE CHRISTMAS & HAPPY NEW YEAR 2025 ส่งความสุขปีใหม่สุดประทับใจ ณ สยามสแควร์
ของขวัญปีใหม่ 2568 สุดพิเศษแด่สังคมจากจุฬาฯ โดย ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดี
“จุฬาฯ ร่วมฝ่าภัยพิบัติไปด้วยกัน” โครงการดี ๆ จาก”เครือข่ายจุฬาฯ ฝ่าพิบัติ” เพื่อผู้ประสบอุทกภัยสามจังหวัดภาคใต้
ขอเชิญบุคลากรจุฬาฯ ร่วมพิธีตักบาตรเนื่องในโอกาสขึ้นพุทธศักราชใหม่ 2568 ณ ลานพระศรีมหาโพธิ์ หน้าอาคารจามจุรี 4
แจ้งเตือนข่าวเท็จขายสินค้าทางเว็บไซต์ออนไลน์แอบอ้างชื่อจุฬาฯ
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้