รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
20 มกราคม 2566
ข่าวเด่น, งานวิจัยและนวัตกรรม, ภาพข่าว
ผู้เขียน นิธิกานต์ ปภรภัฒ
“ภาวะสมองเสื่อม” มีอุบัติการณ์ของโรคเพิ่มขึ้นจากการที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัย วิทยาการความก้าวหน้าทางด้านการแพทย์และนวัตกรรม ด้วยความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ และ University College London (UCL) ประเทศอังกฤษ ได้พัฒนา Application ตรวจการได้ยินด้วยคำพูด ทำให้สามารถบ่งชี้ได้ว่าผู้สูงอายุมีความเสี่ยงสมองเสื่อมหรือไม่ ช่วยป้องกันและชะลอภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุซึ่งยังไม่สามารถรักษาให้หายได้
จากการเสวนา CHULA the Impact ครั้งที่ 14 เรื่อง “บ่งชี้ความเสี่ยงสมองเสื่อมด้วยการใช้เทคโนโลยี Application ตรวจการได้ยินด้วยคำพูด” ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดขึ้นเมื่อวันที่ 19 มกราคมที่ผ่านมา ณ ห้อง 111 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ ได้นำเสนอความก้าวหน้านวัตกรรมแอปพลิเคชันในการตรวจภาวะสมองเสื่อมจากเสียงพูดที่ได้ยิน วิเคราะห์การแปลผลทางด้านภาษาของสมองว่ามีภาวะความเสี่ยงสมองเสื่อมหรือไม่ ซึ่งเป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากประเทศอังกฤษสร้างเป็นแอปพลิเคชันครั้งแรกในประเทศไทย พร้อมให้ดาวน์โหลดใช้งานง่ายได้ด้วยตนเองผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟน โดยมี ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.อดิสร เตือนตรานนท์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ รศ.ดร.สิรี ชัยเสรี ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) กล่าวเปิดการเสวนา ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.เจษฎา ศาลาทอง อาจารย์ประจำภาควิชาสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ในการนี้ ผศ.ดร.เอกก์ ภทรธนกุล Chief Brand Officer จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มอบของที่ระลึกแก่ประธานในพิธีเปิดเสวนาและวิทยากร
ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีพันธกิจในการสร้างคน สร้างองค์ความรู้และสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อก้าวไกลในสังคมโลก ซึ่งสอดคล้องกับโครงการวิจัย Thai Speech Acoustic Virtual Reality (Thai-SAVR) test for the detection of early dementia โดยได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งจาก Royal Academy of Engineering สหราชอาณาจักร ผ่านทางสถานทูตอังกฤษประจำประเทศไทย และได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้จาก University College London (UCL) ประเทศอังกฤษ และได้รับการสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนจาก British Council และกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ผ่านโครงการ Thai-UK World-class University Consortium และความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม
“ความร่วมมือในการสร้าง Application ตรวจการได้ยินด้วยคำพูด ฉบับภาษาไทย ทำให้ผู้ที่มีความเสี่ยงสามารถตรวจคัดกรองด้วยตัวเองเบื้องต้นก่อนไปพบแพทย์ ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงสมองเสื่อมที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ซึ่งเป็นการบูรณาการร่วมกันระหว่างระบบการดูแลผู้สูงอายุที่อาจเกิดสมองเสื่อมในอนาคต ร่วมกับศาสตร์แห่งการวิจัย ทำให้สามารถถ่ายทอดความรู้ไปสู่ชุมชน และเชื่อมต่อองค์ความรู้และเทคโนโลยีจากจุฬาฯ สู่การนำไปใช้งานจริงในอนาคตต่อไป” อธิการบดีจุฬาฯ กล่าว
อ.ดร.พญ.นัตวรรณ อุทุมพฤกษ์พร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการได้ยิน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า แอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นนี้ใช้สำหรับทดสอบการรับรู้เสียงพูดเพื่อประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากภาวะสมองเสื่อม เป็นการตรวจการได้ยินและความสามารถในการจับใจความจากจากคำพูดและประโยคที่เป็นภาษาไทย โดยใช้เทคนิคแบบ Virtual Reality (VR) โดยจำลองสภาพสถานการณ์จริงในการรับรู้เสียงที่เข้ามาจากทิศทางต่างๆ เพื่อตรวจดูการแปรผลของสมองด้านการใช้ภาษา ซึ่งจะเป็นข้อบ่งชี้ได้ว่าในอีก 5-10 ปีข้างหน้าจะมีโอกาสเป็นสมองเสื่อมหรือไม่ ซึ่งดำเนินการผ่านโครงการ Transforming System through Partnership ภายใต้ทุนวิจัยนิวตัน (Newton Fund) ผู้ที่ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองการได้ยินคือผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป เป็นการตรวจวัดความสามารถในการได้ยินด้วยภาษาไทย ทำให้สามารถประเมินผลได้ดีที่สุด และมีใบรับรองจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ โดยมีการประเมินข้อบ่งชี้ว่ามีความเสี่ยงสมองเสื่อม 10 ข้อ
“ความร่วมมือในโครงการนี้มุ่งหวังให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นศูนย์กลางห้องปฏิบัติการวิจัยของประเทศไทยและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในเรื่องการตรวจการได้ยินด้วยคำพูด เพื่อดูการแปลผลของสมองด้านภาษา การใช้งานแอปพลิเคชันสำหรับประชาชนทั่วไปสามารถใช้งานได้ผ่าน Mobile Application เพื่อใช้ทดสอบได้ทันทีด้วยตนเอง หากพบว่ามีความเสี่ยงที่จะสมองเสื่อมก็สามารถติดต่อขอตรวจเพิ่มเติมได้ที่สถานพยาบาลและโรงพยาบาลทั่วประเทศ ทั้งนี้ผู้ที่รับการทดสอบแล้วพบว่าประสบปัญหาทางด้านการได้ยินสามารถใช้สิทธิ์ในการเบิกเครื่องช่วยฟังได้ ดังนั้นอยากให้ผู้สูงอายุและผู้ที่มีข้อบ่งชี้จากแพทย์ว่าสมควรต้องใส่เครื่องช่วยฟังสามารถใส่เครื่องช่วยฟังเพื่อประโยชน์ในการป้องกันภาวะสมองเสื่อมในอนาคต” อ.ดร.พญ.นัตวรรณ กล่าว
อ.ดร.ยุทธนา รุ่งธรรมสกุล อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านฟิสิกส์การได้ยิน คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า “สมอง” เป็นอวัยวะสำคัญที่คอยควบคุมสั่งการ “หู” เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในระบบการได้ยิน การวิจัยเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของการได้ยินในโครงการนี้ทำในห้องปฏิบัติการไร้เสียงสะท้อน ซึ่งจะมีลำโพง 8 ตัวที่มีเสียงเข้ามาจากทิศทางต่างๆ แต่ละตัวทำมุม 30 องศา ตรงกลางห้องจะเป็นเก้าอี้ให้ผู้ทดสอบไว้นั่งฟังเสียงลำโพงแต่ละตัว ผนังทุกด้านทำจากวัสดุรูปลิ่มดูดซับเสียงกันเสียงสะท้อน โดยให้อาสาสมัครฟังเสียงพูดและเสียงรบกวนพร้อมๆ กันเพื่อวัดว่าอาสาสมัครจับใจความจากประโยคที่ได้ฟังได้ในระดับใด นำไปสู่การประมวลผลเสียงพูดในระดับสมองต่อไป ซึ่งทางทีมวิจัยได้พัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับการทดสอบการรับรู้เสียงพูดในโทรศัพท์สมาร์ทโฟนที่สามารถเชื่อมต่อกับหูฟัง ในอนาคตอันใกล้เราจะสามารถใช้แอปพลิเคชันในการทดสอบในห้องเก็บเสียงของโรงพยาบาลทั่วไปได้ รวมทั้งพัฒนาร่วมกับภาคเอกชนในการสร้างห้องประเมินการได้ยินแบบปรับให้อยู่ในพื้นที่ต่างๆ ได้ เช่น สถานพยาบาลในต่างจังหวัด โรงเรียนและในหน่วยงานตามแหล่งชุมชน
ผศ.ดร.นพ.ชัยภัทร ชุณหรัศมิ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสมอง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ คาดการณ์ว่าปัจจุบันประเทศไทยมีผู้สูงอายุที่อายุเกิน 60 ปี จำนวน 12 ล้านคน จะมี 5-10% หรือประมาณ 1 ล้านคน ที่มีโอกาสเกิดความเสี่ยงสมองเสื่อม ภาวะสมองเสื่อม (Dementia Syndrome) ซึ่งโรคที่พบเจอได้บ่อยที่สุดคือ โรคอัลไซเมอร์ และโรคหลอดเลือดสมองตีบ หากเกิดอาการสมองเสื่อมแล้วจะทำให้เกิดความยากลำบากต่อตัวผู้ป่วยเองและครอบครัว ปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาอาการสมองเสื่อมได้ ดังนั้นการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะสมองเสื่อมจึงมีความสำคัญ ภาวะการได้ยินลดลงเป็นความเสี่ยงสำคัญของการเกิดภาวะสมองเสื่อม ก่อนที่จะเกิดภาวะสมองเสื่อม ผู้สูงอายุจึงควรตรวจคัดกรองโดยการตรวจการได้ยินและตรวจการทำงานของสมองร่วมด้วย
“ผู้สูงอายุไม่ควรนิ่งนอนใจ การที่หูไม่ได้ยิน หูตึง ส่วนหนึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางอายุ แต่บางครั้งอาจจะเกิดจากสมองเสื่อมได้ ถ้าสงสัยควรพบแพทย์โดยเร็วยิ่งดีเพื่อตรวจอาการให้แน่ชัด” ผศ.ดร.นพ.ชัยภัทรกล่าวในที่สุด
Prof. Dr. Stuart Rosen ศาสตราจารย์ด้านภาษาศาสตร์ จาก University College London (UCL) ประเทศอังกฤษ กล่าวว่า ภาษาไทยมีลักษณะเฉพาะโทนเสียงวรรณยุกต์ซึ่งแปรผันตามระดับเสียงทำให้เกิดความหมายที่แตกต่างกัน ความร่วมมือระหว่างประเทศในโครงการนี้กับนักวิจัยจากจุฬาฯ เกิดจากความสนใจในหัวข้อวิจัยที่มีเป้าหมายและวิสัยทัศน์ร่วมกันในการพัฒนาการตรวจประเมินทั้งในผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ผู้สูงอายุ และผู้ที่อาจจะมีภาวะสมองเสื่อม โดยใช้เทคนิคจำลองภาพเสมือนจริง (Virtual Reality) เพื่อทำให้เกิดการประเมินที่สมจริงมากยิ่งขึ้นของสมรรถภาพการได้ยินและทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดซึ่งสามารถนำไปใช้งานจริงได้ในหลายประเทศ ก่อให้เกิดการเรียนรู้แลกเปลี่ยนความเข้าใจในสาขาวิทยาศาสตร์การพูดมากขึ้น
แอปพลิเคชันสำหรับตรวจการได้ยินด้วยคำพูดภาษาไทยเพื่อบ่งชี้ความเสี่ยงสมองเสื่อม เปิดให้ผู้สูงอายุและประชาชนทั่วไปสามารถดาวน์โหลดได้ฟรีตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ทั้งในระบบ IOS และ Android ในชื่อว่า “Eartest by Eartone”
เรื่อง : นิธิกานต์ ปภรภัฒภาพ : ณัฐริณีย์ พร้อมวงศ์ และ สมบูรณ์ พัฒนปรีชาเสถียร ศูนย์สื่อสารองค์กร จุฬาฯ
เทศกาลความสนุกส่งท้ายปี “Siam Street BIG RETURN 2024” 20-22 ธันวาคมนี้ที่สยามสแควร์ ชมฟรีตลอดงาน
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ จัดงานประกาศผลมูลค่าแบรนด์องค์กร ASEAN and Thailand’s Top Corporate Brands 2024 มอบรางวัลสุดยอดแบรนด์องค์กรและรางวัลหอเกียรติยศ
ผศ.ทพ.ดร.ศุภชัย ชื่นจิตรวงษา ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาฯ ได้รับยกย่องเป็นทันตแพทย์ดีเด่น ด้านพัฒนาวิชาชีพ
จุฬาฯ จัดงาน “Chula Townhall” เปิดวิสัยทัศน์พัฒนามหาวิทยาลัยรอบทิศโดยมีนิสิตเป็นศูนย์กลาง พร้อมส่งความสุขปีใหม่ให้ชาวจุฬาฯ
จุฬาฯ เสริมสร้างศักยภาพด้านการบริหารจัดการแก่ผู้บริหาร หลักสูตร The Leader Prospects รุ่นที่ 14
เชิญชวนชาวจุฬาฯ เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาภายในของบุคลากรจุฬาฯ ครั้งที่ 45 ประจำปี 2568
27 มกราคม – 7 มีนาคม 2568
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้