ข่าวสารจุฬาฯ

คณะทำงานด้านความยั่งยืนของจุฬาฯ เข้าร่วมการประชุมวิชาการ The 7th Annual Conference of Sustainable University Network of Thailand และการประชุมสมาชิกเครือข่าย SUN Thailand ครั้งที่ 1/2566 ณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คณะทำงานด้านความยั่งยืนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย ผศ.ดร.วรภัทร์ อิงคโรจน์ฤทธิ์ ผู้ช่วยอธิการบดี พร้อมด้วยผู้แทนจากกลุ่มภารกิจการจัดการสิ่งแวดล้อม สำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาฯ ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาฯ ศูนย์บริหารกลาง จุฬาฯ เข้าร่วมารประชุมวิชาการ The 7th Annual Conference of Sustainable University Network of Thailand และการประชุมสมาชิกเครือข่าย SUN Thailand ครั้งที่ 1/2566 ภายใต้แนวคิด Actions toward the low-carbon world เมื่อวันที่ 19 – 20 มกราคม 2566 ณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

โดยมี นายสัมพันธ์ เย็นสาราญ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานกล่าวเปิดงาน รศ. ดร.สมชาย สันติวัฒนกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวต้อนรับและมอบของที่ระลึกสมาชิกเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนแห่งประเทศไทยพร้อมด้วย ผศ. ว่าที่ร้อยตรี ดร.กิตติคุณ รุ่งเรือง ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนแห่งประเทศไทย ประจาปี 2565 รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวรายงานในการประชุมฯ ครั้งนี้

ภายในการประชุมฯ มีการบรรยายในหัวข้อ เรื่อง “นโยบายไทยสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี ค.ศ. 2050 (Carbon Neutrality 2050) และการบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2065 (Net Zero Emission 2065)” โดย ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิชิ เลขาธิการสานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การบรรยายเรื่อง “การจัดทำบัญชีรายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกองค์กร (Carbon Footprint for Organization)” โดย รศ. ดร.กิติกร จามรดุสิต รองอธิการบดีฝ่ายสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยมหิดล และการบรรยายเรื่อง “แนวโน้ม ทิศทาง อนาคต : ภาวะโลกร้อน คาร์บอนเครดิต” โดย นางสาวอโณทัย สังทอง ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศเเละการสื่อสาร องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)

ทั้งนี้ คณะทำงานจุฬาฯ ได้เข้าร่วมกิจกรรมฐานการเรียนรู้ “พรรณไม้บำบัดฝุ่นมลพิษ PM 2.5” กิจกรรมปลูกต้นไม้ และการศึกษาดูงาน อาทิ โรงงานต้นแบบแปรรูปวัสดุเหลือทิ้งทำงกำรเกษตรเป็นเชื้อเพลิงชีวมวล อัดเม็ดโครงการการพัฒนาถังปฏิกรณ์ชีวภาพแบบมีเมมเบรนเพื่อการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ โครงการจากคณะเทคโนโลยีและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์การเกษตร และกิจกรรมอื่นๆ ด้านความยั่งยืน ภายใต้พื้นที่การเรียนรู้ ณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า