ข่าวสารจุฬาฯ

คณะทำงานมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ AUN-HPN The 7th International Advisory Committee (IAC) และประชุมวิชาการนานาชาติ The 3rd AUN International Health Promotion Conference

คณะทำงานมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดีจุฬาฯ พร้อมด้วย นพ.สัณฐิติ ดะห์ลัน รักษาการผู้อำนวยการศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาฯ พร้อมด้วยทีมงาน และ ดร.จุฑาสิริ โรหิตรัตนะ ผู้แทนศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม (ศปอส.) เข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับนานาชาติของสำนักงานเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (AUN-HPN) ในงาน The 7th International Advisory Committee (IAC) และประชุมวิชาการนานาชาติ The 3rd AUN International Health Promotion Conference ซึ่งมหาวิทยาลัยมหิดลจัดขึ้นเมื่อวันที่ 19 – 20 มกราคม 2566 ณ โรงแรมแกรนด์ ริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี และผ่านทางระบบ Zoom Meeting โดยมี รศ.ดร.ภญ.จุฑามณี สุทธิสีสังข์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานเปิดการประชุม

ผู้เข้าร่วมการประชุมประกอบด้วย ดร.ชลธิศ  ธีระฐิติ ผู้อำนวยการบริหารสำนักงานเลขานุการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน ดร.ณัฐพันธุ์ ศุภกา ผู้อำนวยการสำนักภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ รศ.ดร.ธันวดี สุขสาโรจน์ ผศ.ดร.สุภาภรณ์ สงค์ประชา รองเลขาธิการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (AUN-HPN) ศ.ดร.ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุธยา ประธานคณะทำงานแกนนำในการพัฒนาระบบ Healthy University Rating Systems (HURS) และคณะกรรมการอำนวยการของ AUN-HPN Steering Committee พร้อมด้วย 26 มหาวิทยาลัยจากกลุ่มประเทศอาเซียนและประเทศญี่ปุ่น ติดตามข่าวสารของเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (AUN-HPN) ได้ที่ aun-hpn.or.th


ภายในงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดบูธกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาวะ ภายใต้แนวคิด “Chula Healthy University Good Health and Well-being” โดยมีการนำเสนอการทำงานด้าน Health Promotion ของจุฬาฯ พร้อมทั้งได้นำการสาธิตการยืดเหยียดกล้ามเนื้อด้วยยางยืด และสอนการใช้ยางยืดออกกำลังกาย โดยนักวิทยาศาสตร์การกีฬาของศูนย์บริการสุขภาพจุฬาฯ เพื่อป้องกันและลดการเป็น office syndrome ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมประชุมเป็นอย่างมาก

ในปี 2566 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะเป็นประธานการประชุมวิชาการระดับชาติของเครือข่ายมหาวิทยาลัยไทยเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ (TUN-HPN) เพื่อร่วมหารือทำให้เกิดกิจกรรมอันเป็นประโยชน์เพื่อสุขภาวะที่ยั่งยืนของประชาคมจุฬาฯ และกิจกรรมในเครือข่ายต่อไป


จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า