เพลงมหาวิทยาลัย

เพลงจามจุรีศรีจุฬาฯ

ผู้ประพันธ์ทำนอง

เอื้อ สุนทรสนาน

ผู้ประพันธ์เนื้อร้อง

แก้ว อัจฉริยะกุล

ประวัติความเป็นมา

บทเพลงนี้สะท้อนความเป็นไปในการดำเนินชีวิตนักศึกษาได้เป็นอย่างดียิ่งจากการที่ชาวจุฬาฯ ถือเอาจามจุรีเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และด้วยวัฏจักรของต้นจามจุรีมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวจุฬาฯ กล่าวคือมีสีเขียวให้ความสดชื่นในช่วงเวลาภาคต้นของการศึกษาเสมือนนิสิตปีที่ 1 ที่ยังคงร่าเริงสนุกสนานกับการเป็นน้องใหม่ และเมื่อเวลาผ่านไปในภาคปลายการศึกษา ทั้งใบและฝักย้ำเตือนให้นิสิตเตรียมตัวสอบปลายปี มิฉะนั้นอาจจะต้องเรียนซ้ำชั้นหรือถูกไล่ออก อีกทั้งในปี พ.ศ. 2491 ซึ่งเป็นระยะแรกที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใช้วิธีสอบคัดเลือกผู้เข้าศึกษา (แทนการรับเข้าศึกษาจากนักเรียนโรงเรียนเตรียมจุฬาฯ แต่เดิม) นิสิตซึ่งมาจากสถานที่ต่างๆ กันประสบกับปัญหาในชีวิตนักศึกษาเป็นอันมาก เนื่องจากเพิ่งก้าวออกจากชีวิตภายในรั้วโรงเรียนมัธยมศึกษาเข้าสู่รั้วการศึกษาในมหาวิทยาลัย ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงทั้งสภาพแวดล้อมและสภาพการเรียนที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ในระยะนั้นครูเอื้อได้รับเชิญให้นำวงดนตรีสุนทราภรณ์เข้ามาบรรเลงในมหาวิทยาลัยอยู่บ่อยครั้ง และได้สัมผัสกับชีวิตนิสิตในรั้วจุฬาฯ แห่งนี้อย่างใกล้ชิด ครูเอื้อจึงได้แต่งเพลงนี้ขึ้นเพื่อเป็นการเตือนใจสำหรับการดำเนินชีวิตในมหาวิทยาลัย และเป็นอุทาหรณ์ป้องกันการสอบแก้ตัว การซ้ำชั้น และการถูกไล่ออก

เนื้อร้อง

เมื่อต้นปีจามจุรีงามล้น เครื่องหมายของสิ่งมงคล ทุกคนเริ่มต้นสนใจ เริ่มเวลารับชาวจุฬาฯ น้องใหม่ เบิกบานสำราญฤทัย น้องเรามาใหม่หลายคน เห็นจามจุรีสีงาม ทุกยามช่างงามล้ำล้น น้องเราเข้ามาทุกคน เบิกบานกมลเริ่มต้นด้วยดี พร้อมกันในวันนี้เอง ร้องเพลงครื้นเครงเต็มที่ หมายเอาจามจุรีเป็นเกียรติเป็นศรีของชาวจุฬาฯ เมื่อกลางปีจามจุรีฝักหล่น ถึงเวลาหน้าฝนลำต้นก็ลื่นหนักหนา ฝักหล่นไปทั้งยางก็ไหลลงมา ถ้าเดินพลั้งพลาดท่าจะล้มทันที ฉันใดก็ดี ยางจามจุรีเตือนใจ ว่ายางที่ไหลนั้นคือยางอายเรานี้ พลาดการศึกษาแสนอายหนักหนาทั้งตาปี จำยางจามจุรีเตือนใจ เมื่อปลายปีดอกจามจุรีร่วงหล่น ทิ้งใบเกลื่อนถนนเหลือเพียงลำต้นยืนไว้ เหล่าจุฬาฯ ทิ้งความสุขาทันใด พ่อแม่น้องพี่ใกล้ไกลอยู่ไหนลืมพลัน ที่กินถิ่นนอน มิได้อาวรณ์นำพา มีความปรารถนาเหลือเพียงตำราเท่านั้น เพื่อนเชือนชักทิ้งจนคนรักสารพันหวังมิให้ตกชั้นรีไทร์

จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด

คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า